หุบป่าตาด ป่าดึกดำบรรพ์ในอุทัยธานีที่ค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลก 13 - forest

หุบป่าตาด ป่าดึกดำบรรพ์ในอุทัยธานีที่ค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลก

หุบป่าตาด เป็นป่าดึกดำบรรพ์ที่ได้รับความนิยมในอุทัยธานี เนื่องจากมีความสำคัญในการเป็นที่ค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลก มีสัตว์และพืชที่ไม่เคยเห็นในป่าอื่นๆ บนโลก หุบป่าตาดจึงเป็นที่สำคัญในการศึกษาและวิจัยสิ่งมีชีวิตในป่า นอกจากนี้ยังเป็นที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ โดยมีธรรมชาติที่สมบูรณ์แบบไม่ควรพลาด

หุบป่าตาด

เอ่ยชื่อออกมาอาจไม่น่าสนใจ

แต่หากเสริมต่อไปว่า เป็นป่าโบราณดึกดำบรรพ์ สมัยจูราสสิคโน่น…. น่าสนใจขึ้นเยอะเชียว

หุบป่าตาดเป็นป่าในหุบลึกกลางภูเขา  บริเวณเขาห้วยโศก อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี  กินพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ เศษ ความพิเศษของป่าเล็ก ๆ ผืนนี้ อยู่ตรงที่สันนิษฐานกันว่าเคยเป็นถ้ำมาก่อน หากส่วนที่เป็นหลังคาได้ยุบตัวลง กลายเป็นหุบ หรือบ่อกลางภูเขา มีทางเข้าออกเพียงช่องทางเดียว  ทำให้พื้นที่มีระบบนิเวศน์ค่อนข้างปิด มีความชุ่มชื้นตลอดทั้งปี ทำให้มีพืชบางชนิดเท่านั้นเติบโตได้ดี….และพืชชนิดนั้นคือต้นตาด อันเป็นที่มาของชื่อสถานที่นั่นเอง

img_0197
%e0%b8%9b%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%94-1

ตาด… ปาล์มดึกดำบรรพ์ชนิดหนึ่ง

ตาดเป็นไม้ประเภทปาล์มดึกดำบรรพ์  ลำต้นสูง มีหนามติดอยู่ตามข้างก้านใบ   มักขึ้นตามป่าดงดิบที่มีอากาศชื้นและหนาวเย็น พบมากบนดอยสูง แถวดอยภูคาจังหวัดน่าน จึงน่าแปลกที่พบขึ้นกลางหุบเขาในจังหวัดอุทัยธานี แต่อย่างที่กล่าวข้างต้น ปัจจัยแวดล้อมที่แปลกพิเศษ มีเพียงแดดส่องลอดถึงเพียงรำไร และอากาศที่ชื้น ทำให้ต้นตาดเติบโตได้ดี และยิ่งเติบใหญ่ขึ้นเท่าไหร่ ใบที่แผ่กว้างของต้นตาดยิ่งทำให้แสงส่องลอดลงมาได้น้อยลงไปอีก ทำให้พืชชนิดอื่น ๆ ที่ต้องการแสงแดดในการเติบโตไม่สามารถขึ้นได้ ปล่อยให้ต้นตาดยึดครองพื้นที่เกือบหมด โดยมีพืชไม่กี่ชนิดที่เติบโตได้ในแวดล้อมที่ใกล้เคียงกันได้แก่ ต้นเต่าร้าง เปล้า คัดค้าวเล็ก กระพง ยมหิน และไทร ขึ้นให้เห็นประปราย

หุบป่าตาดถูกค้นพบโดยบังเอิญ โดย พระครูสันติธรรมโกศล (หลวงพ่อทองหยด) เจ้าอาวาสวัดถ้ำทอง ที่มีเหตุให้ปีนลงไปในหุบเขานี้โดยบังเอิญ จึงพบผืนป่าแปลกที่เต็มไปด้วยต้นตาดนี้ จึงได้เจาะปากถ้ำเพื่อเป็นทางเข้าไปสำรวจได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งต่อมากรมป่าไม้ได้ประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์ อยู่ในความดูแลของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำประทุน และมีการจัดทำเป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะทาง 700 เมตร

บางครั้ง บางครา ที่เราไปเที่ยวสวนสนุกชื่อดัง มักพบว่ามีการจัดสรรพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นจุดดึงดูดให้นักท่องเที่ยวได้ล่องเรือผ่านเข้าไปในพื้นที่ที่จำลองเป็นป่าโบราณ โดยจัดวางภาพ แสง เสียง  สร้างบรรยากาศให้นักท่องเที่ยวรู้สึกตื่นตา ตื่นใจ

หากที่นี่ เป็นป่าโบราณที่แท้จริงที่ธรรมชาติได้สร้างสรรค์ขึ้นจากปัจจัยแวดล้อมพิเศษ โดยไม่ต้องผ่านมือมนุษย์จำลองแต่อย่างไร  การเข้าไปยังป่าแห่งนี้ต้องเดินขึ้นบันไดเข้าไปในถ้ำที่อยู่สูงขึ้นไปราว 30 เมตร  ผ่านเข้าไปในอุโมงค์ถ้ำที่มืดสนิทต้องใช้ไฟฉายส่องนำทาง ซึ่งหากส่องไฟไปตามผนังถ้ำจะเห็นค้างคาวมากมายเกาะห้อยหัวอยู่   ซึ่งไม่ต้องกังวลเพราะระยะทางที่ผ่านถ้ำใหญ่มืดสนิทนั้น เป็นพียงระยะทางสั้น ๆ ชั่วอึดใจเท่านั้น ก็จะถึงบริเวณปากถ้ำ ที่เป็นปล่องขนาดใหญ่  ถึง ณ ตรงนั้น มองออกไปด้านนอก จะเห็นป่าตาดขนาดใหญ่แผ่ให้ร่มเงา งดงาม แปลกตา เหมือนหลุดเข้าไปยังโลกอีกใบ ที่แวดล้อมต่างจากด้านนอกอย่างสิ้นเชิง

img_0236
img_0243
%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%94-3

ต้องชื่นชมเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำประถุน ที่จัดเส้นทางเดินชมและศึกษาธรรมชาติรอบหุบป่าตาดได้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมไม่ขัดตา เป็นเส้นทางเดินชมธรรมชาติที่เพลิดเพลิน ได้เห็นต้นตาดขึ้นปกคลุมหนาแน่นในวงล้อมของผาหิน ที่เต็มไปด้วยหินงอก หินย้อย รูปร่างแปลกตา

img_0207

%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%94-4

แม้ภายในป่าจะมีต้นตาดเป็นไม้หลัก แต่ไม้เล็กๆ แปลกตา และเห็ดสวย ๆ ในป่าที่เย็นชื้นแห่งนี้ก็มีให้เห็นตลอดทางเช่นกัน เป็นสีสันเล็ก ๆ ที่แต่งแต้มรายละเอียดให้กับผืนป่าแห่งนี้

img_6078
img_6079
img_6103

img_6107

กิ้งกือมังกรสีชมพู สุดยอดการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่อันดับ 3 ของโลก

นอกจากเห็ดสีสวย ๆ ที่เป็นสีสันแล้ว ระหว่างทาง ช่างสังเกตุสักหน่อยมีโอกาสที่จะได้พบสัตว์พิเศษนั่นคือ “กิ้งกือมังกรสีชมพู” (Shocking Pink Millipede)

เจ้ากิ้งกือสีชมพูที่ว่านั้น เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลกค้นพบในปี 2550 และพบในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ซึ่งหลังจากประกาศการค้นพบอย่างเป็นทางการ  ในปั 2551 สถาบันไอไอเอสอี (International Institute for Species Exploration: IISE) มหาวิทยาลัยรัฐแอริโซนา (Arizona State University) ได้ประกาศให้การค้นพบกิ้งกือมังกรสีชมพูดังกล่าวเป็นสุดยอดการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่อันดับที่ 3 ของโลก รองจากการค้นพบปลากระเบนไฟฟ้าในแอฟริกาและการค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ปากเป็ดอายุ 75 ล้านปี ในสหรัฐฯ  ที่ได้อันดับที่ 1 และ 2 ตามลำดับ

%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b9%89%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b8%8a%e0%b8%a1%e0%b8%9e%e0%b8%b9
ภาพจาก www.manager.co.th

หุบป่าตาด ป่าดึกดำบรรพ์ชวนพิศวงนี้ได้รับการคัดเลือกจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นหนึ่งในสถานที่ อันซีนไทยแลนด์ปี 2547 เดินทางเข้าถึงได้สะดวกด้วยเส้นทางหลวงหมายเลข 333 ผ่านอำเภอหนองฉาง ต่อด้วยเส้นทางหลวงหมายเลข 3438  ไปยังอำเภอลานสัก ประมาณ 21.5 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปตามทางลาดยางอีกประมาณ 6 กิโลเมตร ก็ถึงหุบป่าตาด…  ป่าอันซีนที่ครั้งหนึ่งควรได้เข้าไปเที่ยวชม

(เครดิตรูปภาพ kirspm3)

เว็บเราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ท่านได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถเลือกอนุญาตคุกกี้เองได้ที่ ตั้งค่าคุกกี้

Privacy Preferences

เมื่อท่านเข้าชมเว็บไซต์ของเรา อาจมีการจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของท่านในรูปแบบของคุกกี้ ข้อมูลนี้อาจเป็นข้อมูลเกี่ยวกับท่าน การตั้งค่าของท่าน อุปกรณ์ของท่าน ซึ่งจะถูกใช้เพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้ตามที่ท่านต้องการ ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่ได้ระบุตัวตนของท่านโดยตรง แต่ช่วยให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์แบบเฉพาะสำหรับท่านได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เราเคารพในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน โดยท่านสามารถเลือกปฏิเสธไม่ยอมรับให้คุกกี้บางประเภททำงานได้ ซึ่งท่านสามารถคลิกที่หัวข้อแต่ละประเภท เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนการตั้งค่าได้ อย่างไรก็ตาม การเลือกปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจส่งผลกระทบต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการที่เราเสนอให้แก่ท่านได้ ข้อมูลเพิ่มเติม

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จําเป็นสําหรับการทํางานของเว็บไซต์ (Strictly necessary cookies)
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่ทำให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้งานในเว็บไซต์ของเราได้อย่างปลอดภัย ส่วนนี้จะไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้ที่ช่วยในการใช้งาน (Functional Cookies)

    เราใช้ Cookies ประเภทนี้เพื่อช่วยจดจำอุปกรณ์หรือบราวเซอร์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถจัดทำเนื้อหาได้อย่างเหมาะสมกับความสนใจส่วนบุคคลของท่านได้รวดเร็วขึ้น และช่วยให้การบริการและแพลตฟอร์มได้อย่างสะดวกสบายและเป็นประโยชน์ต่อท่านมากยิ่งขึ้น

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เชิงสถิติ (Analytics Cookies)

    เราใช้ Analytics Cookies ที่ให้บริการโดย Google ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับรูปแบบการใช้งานของท่านบนเว็บไซต์ของเรา โดยข้อมูลนี้ประกอบไปด้วย หน้าเว็บไซต์ที่ท่านเข้าชม ลิงค์ที่ท่านคลิก ระยะเวลาที่ท่านเข้าชมในแต่ละหน้า โดยเราใช้ข้อมูลนี้เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการใช้งานของผู้ใช้ และเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    เราใช้คุกกี้ประเภทนี้จดจำการตั้งค่าของท่านในการเข้าใช้งานหน้าเว็บไซต์ หน้าเว็บที่ท่านได้เยี่ยมชม และลิงค์ที่ท่านเยี่ยมชม เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเข้าชมและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์และยังปรับปรุงเว็บไซต์ รวมทั้งเนื้อหาใดๆ ซึ่งปรากฏอยู่บนหน้าเว็บให้ตรงกับความสนใจของท่านมากยิ่งขึ้น และทดสอบความมีประสิทธิภาพของโฆษณาเรา และนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุดเท่าที่จำเป็น นอกจากนี้ เรายังอาจแชร์ข้อมูลนี้ให้กับบุคคลที่สามเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว
    Cookies Details

บันทึกการตั้งค่า