รู้รอดปลอดภัย "ฮีทสโตรก" (Heat Stroke) โรคลมแดดที่มาพร้อมอากาศร้อน 13 - Global Warming

รู้รอดปลอดภัย “ฮีทสโตรก” (Heat Stroke) โรคลมแดดที่มาพร้อมอากาศร้อน

ประเทศไทยจัดว่าเป็นเมืองร้อนเพราะสภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่ อุณหภูมิสูงตลอดปีและนับจากต้นเดือนมีนาคมจนกระทั่งกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี เป็นระยะเวลาฤดูร้อน สำหรับนักเรียน นักศึกษาได้ปิดเทอมใหญ่ ผู้บริหารระดับสูงบางหน่วยงานได้สิทธิลาพักร้อน อาจกล่าวได้ว่าฤดูร้อนคือฤดูกาลที่รอคอยเพราะได้พักผ่อน แต่บางอาชีพที่ต้องทำงานกลางแดด ท่ามกลางอากาศร้อนจัด มีอาการเหงื่อไหล เหนื่อยง่ายสาเหตุเพราะร่างกายอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ได้รับคลื่นความร้อนมากเกินไป

ส่งผลให้สมองส่วนที่ควบคุมอุณหภูมิร่างกายทำงานผิดปกติ ผลคือร่างกายพยายามปรับตัวแต่ปรับตัวไม่ได้ ทำให้อุณหภูมิร่างกายกลับสูงเกินกว่า 40 องศาฯ การไหลเวียนโลหิตผิดปกติ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ บางรายอาจหมดสติ หรือถึงขั้นเสียชีวิต ทางการแพทย์เรียกอาการนี้ว่า “ฮีทสโตรก” (Heat Stroke) หรือที่คนไทยเรียกง่าย ๆ ว่า “ลมแดด”

รู้รอดปลอดภัย "ฮีทสโตรก" (Heat Stroke) โรคลมแดดที่มาพร้อมอากาศร้อน 14 - Global Warming

ใครก็มีสิทธิเป็นฮีทสโตรกได้

คงไม่ใช่ปัญหาอะไรมากสำหรับผู้ที่ทำงานในออฟฟิตหรือหน่วยงานที่มีห้องทำงานปรับอากาศ แต่บางอาชีพเป็นต้นว่า ทหารที่ต้องฝึกภาคสนามกลางแดดเป็นเวลานานๆ ตำรวจจราจร แม่ค้าหาบเร่ ผู้มีอาชีพขี่จักรยานยนต์รับจ้าง เกษตรกร และอีกหลายกิจกรรมที่ต้องทำงานสู้ความร้อน

เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์เลือดอุ่น ร่างกายมีข้อจำกัดเรื่องการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม “โดยเฉพาะอากาศร้อน” ระบบประสาทสมองส่วนที่ควบคุมอุณหภูมิจะพยายามสั่งการให้ร่างกายปรับตัว ส่งผลให้เร่งระบายเหงื่อออก แต่ระบายไม่ทัน ส่งผลร่างกายผู้ป่วยมีอาการรู้สึกกระหายน้ำมาก ไม่มีเหงื่อ หน้าแดงตัวร้อนจัดแต่ผู้ป่วยยังคงในสภาพแวดล้อมเดิมอยู่ จะเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ และหายใจเร็ว อาจหมดสติ บางรายเกิดอาการหัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตในที่สุด

รู้รอดปลอดภัย "ฮีทสโตรก" (Heat Stroke) โรคลมแดดที่มาพร้อมอากาศร้อน 15 - Global Warming

หมาแมวในไทย
ก็เป็นโรคฮีทสโตรกตายเกือบทุกปี

มีหมาหลายตัวที่เป็นโรคฮีทสโตรกแล้วตายในเวลาเฉียบพลัน สัตว์เหล่านี้แย่กว่ามนุษย์ตรงที่ สัตว์เลี้ยงนั้นไม่สามารถจะพูดบอกเราได้ตรงๆ ถ้าหากเป็นหมาจรแมวจร ก็คงจะรู้จักหลบหนีไปพักในที่ร่มได้

แต่ถ้าหากเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านแล้วอาจจะอันตรายกว่าตรงที่บางบ้านเลี้ยงนอกบ้าน มีพื้นที่จำกัด เมื่อถึงหน้าร้อนก็ไม่ได้เปลี่ยนทำให้ไม่มีที่หลบไปไหนได้ อีกทั้งการทำกิจกรรมนอกบ้านอย่างการเดินจูง ก็ควรน้อยลง และใช้ระยะเวลาที่สั้นลงในหน้าร้อน แม้จะไม่ได้เดินกลางแดดก็ตาม หมั่นสังเกตอาการสุนัขใกล้ชิดขึ้น อาการเหนื่อยและดูไม่ร่าเริงเหมือนเคย เป็นหนึ่งในภาวะจากความร้อนได้เช่นกัน 

รู้รอดปลอดภัย "ฮีทสโตรก" (Heat Stroke) โรคลมแดดที่มาพร้อมอากาศร้อน 16 - Global Warming

หากต้องทำงานกลางแดด ควรกำหนดเวลาพักใหม่เป็นระบบ

สำหรับผู้ที่มีอาชีพทำงานกลางแดดในฤดูร้อน เป็นต้นว่าแม่ค้าหาบเร่ผู้มีอาชีพขี่จักรยานยนต์รับจ้าง เกษตรกร และนักการภารโรง มีความเสี่ยงโรคฮีทสโตรกโดยตรง ควรเลือกที่ร่มหยุดพักเป็นเวลา และบ่อยครั้งมากขึ้น ทหารที่ต้องฝึกภาคสนามกลางแดดเป็นเวลานานๆ เมื่อวันใดมีแสงแดดร้อนจัดควรกำหนดระยะเวลาฝึกน้อยลงและพักในที่ร่มมากขึ้น และตำรวจจราจรควรมีระยะเวลาเข้าเวรปฏิบัติงานน้อยลงมีเพื่อนผลัดกันหลายคน

รู้รอดปลอดภัย "ฮีทสโตรก" (Heat Stroke) โรคลมแดดที่มาพร้อมอากาศร้อน 17 - Global Warming

ไม่ใช่แค่คนที่ทำงานกลางแดด เด็กและผู้สูงอายุก็เสี่ยง

นอกจากผู้ที่มีอาชีพที่ต้องทำงานกลางแดดแล้วผู้สูงอายุ และเด็กอ่อน คือวัยที่เสี่ยงกับอาการฮีทโตรกเช่นกันเพราะร่างกายปรับสภาพได้ไม่ดี ควรอยู่ในห้องที่ระบายอากาศที่ดี ส่วนอาการที่แสดงจะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายผู้ป่วยแต่ละคน ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะไม่เสี่ยงกับการเกิดอาการโรคฮีทสโตรก คือสัปดาห์ละสามวัน ๆ ละประมาณสามสิบนาที

แนวทางการป้องกันฮีทสโตรกในฤดูร้อน

  1. ควรจะเลือกสวมเสื้อผ้าโปร่งๆ หลีกเลี่ยงผ้าไหม
  2. ไม่ปล่อยรู้สึกกระหายน้ำ
  3. ดื่มน้ำบ่อยๆ ดื่มน้ำเป็นระยะในฤดูร้อน
  4. ก่อนที่จะทำงานกลางแดดหรือทำกิจกรรมในที่ที่มีอุณหภูมิสูง ควรดื่มน้ำเย็น 1 แก้วก่อนเสมอ หรือเตรียมน้ำติดตัวไปทุกครั้ง
  5. เมื่อเกิดอาการหายใจไม่ค่อยออก ควรรีบออกจากบริเวณนั้นทันที
รู้รอดปลอดภัย "ฮีทสโตรก" (Heat Stroke) โรคลมแดดที่มาพร้อมอากาศร้อน 18 - Global Warming

การแก้ไขเมื่อพบผู้ป่วยฮีทสโตรก “หมดสติ”

  1. รีบนำเข้าที่ร่ม อากาศปลอดโปร่ง
  2. ปลดเสื้อผ้าออกให้หลวม
  3. จับผู้ป่วยนอนหงายราบลงกับพื้น ยกเท้าผู้ป่วยให้สูงจากพื้น

จนกระทั่งผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ควรส่งแพทย์ตรวจอาการร่างกายอย่างละเอียด

ปัญหาสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นทุกครั้งเมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน ส่งผลสภาพอากาศร้อนมากกว่าอดีต จนกระทั่งเกิดอาการลมแดดหรือฮีทโตรกคืออาการที่ร่างกายทนต่อความร้อนไม่ไหวจนกระทั่งหมดสติ

พอรู้ทางหนีทีไล่แล้ว
คุณและคนที่คุณรักก็สามารถลดความเสี่ยง
จากฮีทสโตรกหน้าร้อนนี้ได้

#เข้าร่มบ่อยๆ
#อย่ารอจนไม่ไหว

เว็บเราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ท่านได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถเลือกอนุญาตคุกกี้เองได้ที่ ตั้งค่าคุกกี้

Privacy Preferences

เมื่อท่านเข้าชมเว็บไซต์ของเรา อาจมีการจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของท่านในรูปแบบของคุกกี้ ข้อมูลนี้อาจเป็นข้อมูลเกี่ยวกับท่าน การตั้งค่าของท่าน อุปกรณ์ของท่าน ซึ่งจะถูกใช้เพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้ตามที่ท่านต้องการ ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่ได้ระบุตัวตนของท่านโดยตรง แต่ช่วยให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์แบบเฉพาะสำหรับท่านได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เราเคารพในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน โดยท่านสามารถเลือกปฏิเสธไม่ยอมรับให้คุกกี้บางประเภททำงานได้ ซึ่งท่านสามารถคลิกที่หัวข้อแต่ละประเภท เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนการตั้งค่าได้ อย่างไรก็ตาม การเลือกปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจส่งผลกระทบต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการที่เราเสนอให้แก่ท่านได้ ข้อมูลเพิ่มเติม

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จําเป็นสําหรับการทํางานของเว็บไซต์ (Strictly necessary cookies)
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่ทำให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้งานในเว็บไซต์ของเราได้อย่างปลอดภัย ส่วนนี้จะไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้ที่ช่วยในการใช้งาน (Functional Cookies)

    เราใช้ Cookies ประเภทนี้เพื่อช่วยจดจำอุปกรณ์หรือบราวเซอร์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถจัดทำเนื้อหาได้อย่างเหมาะสมกับความสนใจส่วนบุคคลของท่านได้รวดเร็วขึ้น และช่วยให้การบริการและแพลตฟอร์มได้อย่างสะดวกสบายและเป็นประโยชน์ต่อท่านมากยิ่งขึ้น

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เชิงสถิติ (Analytics Cookies)

    เราใช้ Analytics Cookies ที่ให้บริการโดย Google ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับรูปแบบการใช้งานของท่านบนเว็บไซต์ของเรา โดยข้อมูลนี้ประกอบไปด้วย หน้าเว็บไซต์ที่ท่านเข้าชม ลิงค์ที่ท่านคลิก ระยะเวลาที่ท่านเข้าชมในแต่ละหน้า โดยเราใช้ข้อมูลนี้เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการใช้งานของผู้ใช้ และเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    เราใช้คุกกี้ประเภทนี้จดจำการตั้งค่าของท่านในการเข้าใช้งานหน้าเว็บไซต์ หน้าเว็บที่ท่านได้เยี่ยมชม และลิงค์ที่ท่านเยี่ยมชม เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเข้าชมและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์และยังปรับปรุงเว็บไซต์ รวมทั้งเนื้อหาใดๆ ซึ่งปรากฏอยู่บนหน้าเว็บให้ตรงกับความสนใจของท่านมากยิ่งขึ้น และทดสอบความมีประสิทธิภาพของโฆษณาเรา และนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุดเท่าที่จำเป็น นอกจากนี้ เรายังอาจแชร์ข้อมูลนี้ให้กับบุคคลที่สามเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว
    Cookies Details

บันทึกการตั้งค่า