กรมทรัพย์สินทางปัญญาเผยอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นพื้นหลักของไทย มีมูลค่ากว่า 25% ของ GDP สร้างโอกาสทางการค้าและเติบโตสูงต่อไปในอนาคต 13 -

กรมทรัพย์สินทางปัญญาเผยอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นพื้นหลักของไทย มีมูลค่ากว่า 25% ของ GDP สร้างโอกาสทางการค้าและเติบโตสูงต่อไปในอนาคต

กรมทรัพย์สินทางปัญญาเผยอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นพื้นหลักของไทย มีมูลค่ากว่า 25% ของ GDP สร้างโอกาสทางการค้าและเติบโตสูงต่อไปในอนาคต

ภาพประกอบ

นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญาในฐานะหน่วยงานหลักในการพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศอย่างครบวงจร ทั้งการส่งเสริมการสร้างสรรค์การคุ้มครองนวัตกรรมการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์ และการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและการสร้างความเป็นธรรมทางการค้าในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินปัญญา เพื่อให้สังคมไทยได้รับประโยชน์สูงสุดจากระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่เป็นธรรมและเหมาะสมกับบริบทของประเทศ สอดคล้องกันนโยบาย Thailand 4.0 ได้จัดทำโครงการวัดมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยต่อภาพรวมของระบบเศรษฐกิจของประเทศในด้านต่างๆ ทั้งการจ้างงาน มูลค่าเพิ่มของทรัพย์สินและบริการ และการค้าระหว่างประเทศ เพื่อเป็นข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญและบทบาทของทรัพย์สินทางปัญญาต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ และนำไปใช้ประกอบการกำหนดนโยบายของประเทศได้อย่างประสิทธิภาพ

รศ.ดร.พีระ เจริญพร อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวหน้าคณะวิจัยเปิดเผยผลการศึกษาวิจัย ซึ่งพบว่า จำนวนทรัพย์สินทางปัญญาที่จดทะเบียนในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี สอดคล้องกับการพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจากการวิเคราะห์จากฐานข้อมูลจดทะเบียนพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2553-2557 พบว่าประเทศไทยมีอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นพื้นฐานหลักในการดำธุรกิจรวม 135,206 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29.16 จากจำนวนธุรกิจทั้งหมด มีรายได้รวม 13,928,737 ล้านบาท หรือร้อยละ 32.65 มีกำไรสุทธิ 682,498 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 29.61 ของกำไรสุทธิของอุตสาหกรรมทั้งประเทศ หรือคิดเป็นร้อยละ 25.29 ของ GDP ของประเทศ มีมูลค่าส่งออกสุทธิประมาณ 14,923 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ก่อให้เกิดการจ้างงานประมาณร้อยละ 8.82 ของการจ้างงานของทั้งหมด และส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรออกแบบเป็นหลัก ซึ่งยังค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหภาพยุโรป แสดงให้เห็นว่าไทยยังคงต้องพัฒนาขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศ เพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และเพิ่มโอกาสทางการค้าและความสามารถในการแข่งขันของประเทศในภาพรวม

อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญากล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อให้การพัฒนาประเทศบนพื้นฐานนวัตกรรมและการสร้างสรรค์ประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรม กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้มีการนำทรัพย์สินทางปัญญาของไทยไปใช้ประโยชน์ในทางพาณิชย์อย่างเหมาะสมและเป็นระบบเพื่อเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

เว็บเราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ท่านได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถเลือกอนุญาตคุกกี้เองได้ที่ ตั้งค่าคุกกี้

Privacy Preferences

เมื่อท่านเข้าชมเว็บไซต์ของเรา อาจมีการจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของท่านในรูปแบบของคุกกี้ ข้อมูลนี้อาจเป็นข้อมูลเกี่ยวกับท่าน การตั้งค่าของท่าน อุปกรณ์ของท่าน ซึ่งจะถูกใช้เพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้ตามที่ท่านต้องการ ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่ได้ระบุตัวตนของท่านโดยตรง แต่ช่วยให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์แบบเฉพาะสำหรับท่านได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เราเคารพในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน โดยท่านสามารถเลือกปฏิเสธไม่ยอมรับให้คุกกี้บางประเภททำงานได้ ซึ่งท่านสามารถคลิกที่หัวข้อแต่ละประเภท เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนการตั้งค่าได้ อย่างไรก็ตาม การเลือกปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจส่งผลกระทบต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการที่เราเสนอให้แก่ท่านได้ ข้อมูลเพิ่มเติม

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จําเป็นสําหรับการทํางานของเว็บไซต์ (Strictly necessary cookies)
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่ทำให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้งานในเว็บไซต์ของเราได้อย่างปลอดภัย ส่วนนี้จะไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้ที่ช่วยในการใช้งาน (Functional Cookies)

    เราใช้ Cookies ประเภทนี้เพื่อช่วยจดจำอุปกรณ์หรือบราวเซอร์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถจัดทำเนื้อหาได้อย่างเหมาะสมกับความสนใจส่วนบุคคลของท่านได้รวดเร็วขึ้น และช่วยให้การบริการและแพลตฟอร์มได้อย่างสะดวกสบายและเป็นประโยชน์ต่อท่านมากยิ่งขึ้น

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เชิงสถิติ (Analytics Cookies)

    เราใช้ Analytics Cookies ที่ให้บริการโดย Google ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับรูปแบบการใช้งานของท่านบนเว็บไซต์ของเรา โดยข้อมูลนี้ประกอบไปด้วย หน้าเว็บไซต์ที่ท่านเข้าชม ลิงค์ที่ท่านคลิก ระยะเวลาที่ท่านเข้าชมในแต่ละหน้า โดยเราใช้ข้อมูลนี้เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการใช้งานของผู้ใช้ และเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    เราใช้คุกกี้ประเภทนี้จดจำการตั้งค่าของท่านในการเข้าใช้งานหน้าเว็บไซต์ หน้าเว็บที่ท่านได้เยี่ยมชม และลิงค์ที่ท่านเยี่ยมชม เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเข้าชมและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์และยังปรับปรุงเว็บไซต์ รวมทั้งเนื้อหาใดๆ ซึ่งปรากฏอยู่บนหน้าเว็บให้ตรงกับความสนใจของท่านมากยิ่งขึ้น และทดสอบความมีประสิทธิภาพของโฆษณาเรา และนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุดเท่าที่จำเป็น นอกจากนี้ เรายังอาจแชร์ข้อมูลนี้ให้กับบุคคลที่สามเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว
    Cookies Details

บันทึกการตั้งค่า