"อาคารติ่มซำ" โครงสร้างผนังคอนกรีตหล่อแนวๆ Learning Hub/Heatherwick Studio 13 - Architecture
ภาพ: มุมมองจากถนนในมหาวิทยาลัยยามค่ำคืน ขอบคุณภาพ: © Hufton and Crow (www.huftonandcrow.com)

“อาคารติ่มซำ” โครงสร้างผนังคอนกรีตหล่อแนวๆ Learning Hub/Heatherwick Studio

สถาปัตยกรรมที่มีรายละเอียด รูปทรงและสเปซภายในที่แตกต่างจากอาคารเรียนรู้ทั่วไป ในชื่อเล่นว่า “อาคารติ่มซำ” ที่ถูกออกแบบมาเฉพาะเพื่อรองรับแนวคิดของการศึกษาในปัจจุบันที่สอนให้นักเรียนคิดผ่านการเรียนรู้ด้วยตัวเองในแบบที่เรียกว่า “Teach Less, Learn More” เพื่อผลระยะยาวให้ผู้จบการศึกษาจากที่แห่งนี้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

พื้นที่การเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21 ได้ถูกตั้งคำถามถึงความเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมกับยุคสมัยมากกว่าจะเป็นแค่ห้องที่มีกระดานดำพร้อมกับอาจารย์พูดในสิ่งที่คนในรุ่นใหม่อย่างเจนวาย (Gen Y) ไม่อยากรับการเรียนรู้แบบนี้อีก การเรียนการสอนที่เปลี่ยนไปได้ส่งผลต่อการออกแบบสถาปัตยกรรมเช่นกัน หากมองประเทศที่มีการจัดลำดับว่ามีการศึกษาที่ดีของโลก ประเทศในแถบเอเชียก็มีญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ประเทศเหล่านี้ได้นำการศึกษาออกจากระบบที่ล้าสมัยมากขึ้นเรื่อยๆ

สิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็ก เกิดใหม่ แต่ปัจจัยที่ทำให้การเรียนการสอนสามารถก้าวกระโดดกว่าหลายประเทศรอบตัวได้ คือ ความกล้าลงทุนในด้านการศึกษาและวิจัย โดยให้มหาวิทยาลัยเก่าแก่ของอังกฤษมาวางระบบการศึกษาใหม่ ทำให้มหาวิทยาลัยและระบบการศึกษาดีขึ้นทันตาเห็น หรืออาจจะเป็นเพราะแนวคิดที่ไม่ต้องให้เด็กมานั่งอุดอู้แล้วท่องจำตามทฤษฎีที่ไม่แน่ใจว่าถูกผิดอย่างไร แต่สอนให้คนคิดผ่านการเรียนรู้ด้วยตัวเองมากขึ้น แบบที่เรียกว่า “Teach Less, Learn More (TLLM)” แนวคิดการเรียนแบบนี้มุ่งให้ผู้เรียนได้เพิ่มปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดของตนเอง ลดบทบาทของครูผู้สอนให้เป็นผู้ชี้นำแทน ซึ่งในระยะยาวจะทำให้ผู้ที่จบการศึกษาระบบนี้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต

Learning-Hub_Evening1
รอยต่อของแต่ละถาดติ่มซำ เป็นพื้นที่ระบายอากาศและทางเข้า
Credit: ©Hufton and Crow

จากปรัชญาเหล่านี้จึงผลักให้สถาปัตยกรรมด้านการเรียนของประเทศสิงคโปร์มีความน่าสนใจมากขึ้น อย่างเช่นอาคารเรียนหลังใหม่ที่ Nanyang Technological University ในชื่อว่า “Learning Hub” หรือชื่อเล่นว่า “อาคารติ่มซำ” ออกแบบสถาปัตยกรรมโดย Heatherwick Studio และมีที่ปรึกษาด้านการออกแบบในสิงคโปร์ CPG Consultants โดย Vivien Leong การออกแบบงานนี้ทำเพื่อรองรับนักศึกษา 33,000 คน ในแนวทางที่รองรับแนวคิดเรียนให้น้อยทำให้มาก อย่างเช่นการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น โดยก่อนการเรียนการสอนจะเริ่มขึ้น อาจารย์จะทำการอัพโหลดเนื้อหาไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ ให้นักศึกษาแต่ละคนสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ตามสะดวกของแต่ละปัจเจก ไม่จำเป็นต้องรอที่จะเข้าถึงบทเรียนในคาบเท่านั้น การใช้วิธีนี้ส่งผลให้เกิดการจัดห้องเรียนที่มีโต๊ะเก้าอี้สำหรับผู้เรียนเป็นกลุ่มไม่ใหญ่ราว 6-8 คน เพื่อให้ถกเถียง ตั้งคำถาม มากกว่าจะมาฟังว่าอาจารย์จะบอกอะไรเพียงด้านเดียว ซึ่งวิธีนี้ทางมหาวิทยาลัยเรียกว่า “flipped classroom”

ภาพ: มุมมองในเวลากลางวัน ขอบคุณภาพ: © Hufton and Crow (www.huftonandcrow.com)
มุมมองในเวลากลางวัน
Credit: © Hufton and Crow

จากการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนไปของโลกแล้ว สถาปนิกได้ตีความเป็นการสร้างพื้นที่ให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ไปพร้อมกับการก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันของผู้เข้าใช้อาคารหลังนี้ รวมทั้งการสร้างพื้นที่ให้เกิดสภาวะสบายด้วยคอร์ตขนาดยาวสูงกว่า 8 ชั้นเพื่อระบายอากาศร้อนจากชั้นล่างสู่ชั้นบน นอกจากนี้ยังเพิ่มช่องหายใจจากรอยต่อของแต่ละก้อนเป็นซอกระบายอากาศอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้การที่เน้นไปยังการสร้างสภาพแวดล้อมภายในให้มีปฏิสัมพันธ์ก่อเกิดรูปทรงที่ทึบตัน ไม่เชื่อมเข้าหาสเปซภายนอกมากกว่าสถาปัตยกรรมทางการศึกษาแบบอื่นในสิงคโปร์

ภาพ: สเปซภายในห้องเรียน ขอบคุณภาพ: © Hufton and Crow (www.huftonandcrow.com)
สเปซภายในห้องเรียน
Credit: ©Hufton and Crow
ภาพ: สเปซภายในคอร์ตที่สูงกว่า 8 ชั้น ขอบคุณภาพ: © Hufton and Crow (www.huftonandcrow.com)
สเปซภายในคอร์ตที่สูงกว่า 8 ชั้น
Credit: ©Hufton and Crow

ด้วยความที่สิงคโปร์เป็นประเทศเกิดใหม่ และต้องการสร้างให้ตัวเองเป็น hub ในภูมิภาคของอุษาคเนย์ การลงทุนต่อสถาปัตยกรรมที่จะเป็นหน้าตาของประเทศจึงไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลนัก การสร้างสเปซในคอร์ตเป็นการใช้พื้นที่มีพลวัต (dynamic) สูงกว่าภายนอก โครงสร้างภายในคอร์ตจึงห่อหุ้มกับสเปซที่โค้งเว้าไปมา ส่งผลให้โครงสร้างเสาภายในสุดค่อยๆ ดัดโค้งไปตามการยื่นเข้าออกของพื้นแต่ละชั้น ที่ต้องการให้เกิดการลื่นไหลของสเปซให้ผู้คนมาพบเจอกันมากที่สุด ปกติแล้วการออกแบบเสาจะมีจุดประสงค์เพื่อรับแรงอัดให้ดีที่สุด จึงถูกออกแบบให้ต่อต้านแรงโน้มถ่วงโลกด้วยการตั้งฉากกับพื้นโลกให้มากที่สุด รูปทรงภายนอกออกแบบให้พื้นแต่ละชั้นยื่นเข้าออกคล้ายการวางถาดติ่มซำที่เขยื้อนขยักไปมา เสาภายนอกที่ต้องรองรับพื้นยื่นแต่ละชั้นแล้ว ยังต้องรองรับผนังคอนกรีตหล่อสำเร็จด้วยเสาที่โค้งตามการเอียงไปมาด้วยเช่นกัน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจึงทำให้เสาคอนกรีตมีพฤติกรรมการรับน้ำหนักตามการใช้สอยแบบใหม่นั่นเอง

ภาพ: SECTION ของอาคารติ่มซำ ขอบคุณภาพ: Heatherwick Studio (www.heatherwick.com)
SECTION ของอาคารติ่มซำ
Credit: Heatherwick Studio
ภาพ: รายละเอียดผนังที่หล่อพิเศษ ขอบคุณภาพ: © Hufton and Crow (www.huftonandcrow.com)
รายละเอียดผนังที่หล่อพิเศษ
Credit: ©Hufton and Crow

นอกจากนี้ยังมีการก่อสร้างที่น่าสนใจจากการใช้ผนังที่มีความพิเศษจากผนังที่เป็น “Prefabricated concrete panels” หรือผนังที่ทำการหล่อสำเร็จก่อนนำมาติดตั้งในไซต์งานเทคโนโลยีการก่อสร้างแบบนี้ทำมานานแล้วในต่างประเทศเพราะปัญหาเรื่องค่าแรงที่สูง แต่บ้านเราเพิ่งได้รับความนิยมในการก่อสร้างเพราะปัจจุบันราคาค่าแรงในบ้านเราสูงขึ้นจากปัจจัยค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมทั้งยังประสบปัญหาจากการขาดแรงงาน เรื่องราวเหล่านี้จึงผลักดันให้เกิดความนิยมในการใช้ผนัง Prefabricated concrete มากขึ้นกว่าการใช้ผนังระบบเปียกแบบเดิมหรือการใช้ผนังคอนกรีตแบบหล่อในที่ซึ่งยากต่อการควบคุมคุณภาพงานก่อสร้าง และเทคโนโลยีนี้ยังสามารถสร้างลวดลายที่มีความหลากหลายได้เป็นพิเศษ สามารถควบคุณภาพงานได้เพราะเป็นการหล่อคอนกรีตจากโรงงาน โดยเฉพาะถ้าใช้แบบหล่อที่ทำจากวัสดุพิเศษนอกเหนือจากไม้อัดหรือเหล็กที่เคยใช้มาประจำแล้ว อย่างในกรณีนี้สถาปนิกเลือกการออกแบบลวดลายให้พิเศษจากศิลปิน Sara Fanelli ด้วยการใช้แบบหล่อพิเศษจากซิลิโคนให้สามารถสร้างลวดลายพิเศษที่สื่อสารไปยังผู้ใช้อาคารด้วยการใช้ภาพเขียนที่ออกแบบมาเฉพาะ คอนกรีตในแบบหล่อจะไหลไปตามแบบหล่อเกิดมิติจากแสงเงาในแต่ละช่วงเวลาของวัน ขับให้งานนี้มีความพิเศษ เป็นบรรยากาศที่ขับเคลื่อนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ต่อนักศึกษามากขึ้นจากเทคโนโลยีการก่อสร้างที่พิเศษนี้ เทคโนโลยีช่วยจึงให้สถาปัตยกรรมมีความพิเศษมากขึ้น ไปพร้อมกับรองรับแนวคิดสมัยใหม่ได้เช่นกัน

ภาพ: มุมมองจากถนนในมหาวิทยาลัยยามค่ำคืน ขอบคุณภาพ: © Hufton and Crow (www.huftonandcrow.com)
มุมมองจากถนนในมหาวิทยาลัยยามค่ำคืน
Credit: ©Hufton and Crow

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงและรูปภาพ:
www.huftonandcrow.com
www.heatherwick.com
www.archdaily.com

เว็บเราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ท่านได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถเลือกอนุญาตคุกกี้เองได้ที่ ตั้งค่าคุกกี้

Privacy Preferences

เมื่อท่านเข้าชมเว็บไซต์ของเรา อาจมีการจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของท่านในรูปแบบของคุกกี้ ข้อมูลนี้อาจเป็นข้อมูลเกี่ยวกับท่าน การตั้งค่าของท่าน อุปกรณ์ของท่าน ซึ่งจะถูกใช้เพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้ตามที่ท่านต้องการ ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่ได้ระบุตัวตนของท่านโดยตรง แต่ช่วยให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์แบบเฉพาะสำหรับท่านได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เราเคารพในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน โดยท่านสามารถเลือกปฏิเสธไม่ยอมรับให้คุกกี้บางประเภททำงานได้ ซึ่งท่านสามารถคลิกที่หัวข้อแต่ละประเภท เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนการตั้งค่าได้ อย่างไรก็ตาม การเลือกปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจส่งผลกระทบต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการที่เราเสนอให้แก่ท่านได้ ข้อมูลเพิ่มเติม

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จําเป็นสําหรับการทํางานของเว็บไซต์ (Strictly necessary cookies)
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่ทำให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้งานในเว็บไซต์ของเราได้อย่างปลอดภัย ส่วนนี้จะไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้ที่ช่วยในการใช้งาน (Functional Cookies)

    เราใช้ Cookies ประเภทนี้เพื่อช่วยจดจำอุปกรณ์หรือบราวเซอร์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถจัดทำเนื้อหาได้อย่างเหมาะสมกับความสนใจส่วนบุคคลของท่านได้รวดเร็วขึ้น และช่วยให้การบริการและแพลตฟอร์มได้อย่างสะดวกสบายและเป็นประโยชน์ต่อท่านมากยิ่งขึ้น

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เชิงสถิติ (Analytics Cookies)

    เราใช้ Analytics Cookies ที่ให้บริการโดย Google ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับรูปแบบการใช้งานของท่านบนเว็บไซต์ของเรา โดยข้อมูลนี้ประกอบไปด้วย หน้าเว็บไซต์ที่ท่านเข้าชม ลิงค์ที่ท่านคลิก ระยะเวลาที่ท่านเข้าชมในแต่ละหน้า โดยเราใช้ข้อมูลนี้เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการใช้งานของผู้ใช้ และเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    เราใช้คุกกี้ประเภทนี้จดจำการตั้งค่าของท่านในการเข้าใช้งานหน้าเว็บไซต์ หน้าเว็บที่ท่านได้เยี่ยมชม และลิงค์ที่ท่านเยี่ยมชม เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเข้าชมและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์และยังปรับปรุงเว็บไซต์ รวมทั้งเนื้อหาใดๆ ซึ่งปรากฏอยู่บนหน้าเว็บให้ตรงกับความสนใจของท่านมากยิ่งขึ้น และทดสอบความมีประสิทธิภาพของโฆษณาเรา และนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุดเท่าที่จำเป็น นอกจากนี้ เรายังอาจแชร์ข้อมูลนี้ให้กับบุคคลที่สามเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว
    Cookies Details

บันทึกการตั้งค่า