LONG COVID หายแล้ว ไม่มีเชื้อแล้ว แต่อาการยังอยู่ อ่านวิธีดูแลตัวเองโดย ม.มหิดล 13 - covid-19

LONG COVID หายแล้ว ไม่มีเชื้อแล้ว แต่อาการยังอยู่ อ่านวิธีดูแลตัวเองโดย ม.มหิดล

ปัจจุบันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลต่อความเป็นอยู่รวมไปถึงสุขภาพของคนทั่วโลก โดยจะเห็นได้ว่า COVID-19 สร้างความตื่นตระหนกและความเสียหายให้กับผู้คน เศรษฐกิจ สังคม และอื่น ๆ อีกมาก พบผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตมากมายทั่วโลก แม้หายป่วยแล้วยังสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ ซึ่งจาก รายงานสถิติของทั่วโลกพบว่ามีผู้ป่วย COVID-19  400 กว่าล้านราย และผู้เสียชีวิต กว่า 5 ล้านราย ในขณะที่ประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วย COVID-19 มากกว่า 2 ล้านราย และผู้เสียชีวิตกว่า 20,000 ราย ซึ่ง COVID-19 ส่งผลต่อระบบในร่างกาย

LONG COVID หายแล้ว ไม่มีเชื้อแล้ว แต่อาการยังอยู่ อ่านวิธีดูแลตัวเองโดย ม.มหิดล 14 - covid-19

COVID-19 ส่งผลต่อระบบในร่างกาย

อาทิ ระบบการหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท และระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ โดยอาการของ COVID-19 ที่พบได้ทั่วไป คือ  มีไข้ ไอ อ่อนเพลีย สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่น และรับรส เมื่อหายจากการติดเชื้อแต่ละคนก็จะมีการฟื้นฟูร่างกายที่แตกต่างกัน บางคนสามารถหายได้เป็นปกติ และมีอาการดีขึ้นตามลำดับ แต่ในบางรายก็ยังคงมีอาการอยู่ ซึ่งเราเรียกภาวะนี้ว่า ภาวะ Long covid  

Long Covid

Long covid คือ อาการที่เกิดหลังจากที่เราหายจากโรค COVID-19 แล้ว แต่ยังคงหลงเหลืออาการของโรค COVID-19 อยู่ เนื่องจากในขณะที่ป่วย COVID-19 ร่างกายมีการสร้างแอนติบอดีบางอย่างขึ้นมา และไปจับกับโปรตีนเซลล์ของอวัยวะบางส่วนในร่างกาย และไปทำลายอวัยวะส่วนต่าง ๆ หรือพัฒนาขึ้นหลังจากติดเชื้อถึงแม้ว่าจะไม่พบเชื้อแล้วก็ตาม โดยจะรวมอาการที่คงอยู่ต่อเนื่อง 4-12 สัปดาห์ หรือมากกว่า 12 สัปดาห์ขึ้นไปหลังจากได้รับเชื้อ ซึ่งอาการที่พบมีหลากหลายและแตกต่างกันออกไป ทำให้ผู้ที่หายป่วยบางราย ยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออวัยวะและภูมิคุ้มกันโรค รวมถึงสภาพจิตใจได้อย่างรุนแรงและยาวนาน

อาการของ Long covid ที่พบบ่อย 

จะมีอาการแสดงของแต่ละระบบในร่างกายที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ 

  • อาการทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ไอ เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก เหนื่อยล้า หายใจไม่อิ่ม อัตราการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ
  • อาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ปวดกล้ามเนื้อและข้อ เจ็บข้อต่อ ข้อต่ออักเสบได้ง่าย
  • อาการทางระบบประสาท ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ชา มึนงง ร่างกายไม่สดชื่น
  • อาการทางระบบย่อยอาหาร ท้องเสีย ปวดท้อง อาเจียน ไม่อยากอาหาร
  • อาการทางจิตเวช ซึมเศร้า หรือวิตกกังวล อาการของหู จมูก ปวดหู การรับรู้กลิ่นเปลี่ยนไป การรับรสเปลี่ยนไป หรือสูญเสียการรับรู้ของกลิ่นและรส 
  • อาการทางผิวหนัง ผื่นที่ผิวหนัง ผมร่วง

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงของภาวะ Long covid นั้น มักจะ พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย หรือ ผู้ที่มีกลุ่มโรคเรื้อรัง หรือโรคประจำตัว อาทิ  โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ผู้ป่วยโรคหอบหืด ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้สูงอายุ โดยผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการรุนแรง เชื้อลงปอดที่ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล หรือมีอาการปอดถูกทำลาย กลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงในการเกิด Long covid ได้มากกว่ากลุ่มที่ติดเชื้อและไม่มีอาการ

LONG COVID หายแล้ว ไม่มีเชื้อแล้ว แต่อาการยังอยู่ อ่านวิธีดูแลตัวเองโดย ม.มหิดล 15 - covid-19

การดูแลตนเองในภาวะ Long Covid

หลายท่านคงมีคำถามว่า เราจะทำอย่างไรเมื่อเรามีภาวะ Long covid ซึ่งวิธีการดูแลตนเองในภาวะ Long covid นั้น จะต้องหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของตนเอง พร้อมกับดูแลตนเองในด้านต่าง ๆ เช่น ตรวจประเมินภาวะพร่องออกซิเจนของตนเอง ด้วยการใช้ที่วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ช่วงไหนที่เหนื่อยหอบผิดปกติ ให้เช็คดูว่าเรามีภาวะออกซิเจนต่ำลงหรือไม่ หรือฝึกการหายใจเพื่อดูการขยายตัวของปอด เนื่องจากการเชื้อ COVID-19 นั้นมีผลกระทบกับระบบทางเดินหายใจโดยตรง เมื่อหายแล้วอาการอาจจะยังส่งผลกระทบกับระบบทางเดินหายใจและปอดอยู่

การรับประทานอาหาร จะต้องรับประทานให้ครบ 5 หมู่ เนื่องจากผู้ป่วยที่จะต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน ไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่มีการขยับร่างกาย หรือออกกำลังกาย ส่งผลให้มวลกล้ามเนื้อ และความแข็งแรงของเราลดลง เพราะฉะนั้นการรับประทานอาการให้ครบ 5 หมู่ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ

อารมณ์และความเครียด จากที่ร่างกายยังคงมีอาการหลงเหลืออยู่ ทำให้เกิดความเครียด ซึ่งผู้ที่เกิดภาวะ Long covid อาจเกิดภาวะเครียด วิตกกังวล หรือซึมเศร้า จึงต้องใช้เวลาในการรักษาฟื้นฟู การพูดคุยกับคนใกล้ชิด หรือคนในครอบครัว จะทำให้ความเครียด และความกังวลลดลง และหากอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพื่อทำการรักษาต่อไป 

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเพิ่มมวลของกล้ามเนื้อ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ บางเคสที่ผู้ป่วยเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลนาน หรือช่วงป่วยไม่ค่อยมี activity ทำให้กล้ามเนื้อลดลงไปด้วย อาจจะเน้นออกกำลังกายกล้ามเนื้อมัดใหญ่ สามารถเริ่มทำจากไม่ใช้น้ำหนัก หรือน้ำหนักน้อย ๆ ก่อน หลังจากนั้นถ้าอาการเมื่อยลดลง สามารถเพิ่มความยากได้โดยการเพิ่มน้ำหนักได้ การเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อของหน้าขา สะโพก เช่น การทำวอลล์สควอช (wall squat) โดยเอาหลังพิงกำแพง ขาไกลจากกำแพงเล็กน้อย แล้วก็ยืนย่อเข่าลง ใช้กำแพงเป็นตัวรับน้ำหนักแทนขา จะสามารถทำได้ง่ายขึ้น หรือการฝึกลุกขึ้นยืนจากเก้าอี้ 10 ครั้งต่อเนื่องแล้วก็พัก ค่อยเริ่มเซทใหม่ อันนี้จะเป็นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อ โดยที่ใช้น้ำหนักของเราเป็นแรงต้าน ก็สามารถทำให้ออกกำลังกายได้ง่ายขึ้น 

การออกกำลังกายเพื่อฝึกทำงานของระบบหายใจ ลดอาการหอบ เหนื่อย เพิ่มความเข้มข้นออกซิเจนในเลือด โดยฝึกหายใจเข้าทางจมูกช้า ๆ ให้ซี่โครงด้านล่างบานออก และท้องป่อง เพื่อให้ปอดขยายตัว จากนั้นค่อย ๆ หายใจออกช้า ๆ ทำประมาน 3-5 ครั้งต่อเซท และพัก ค่อยเริ่มเซทใหม่อีกครั้ง อีกวิธีหนึ่งคือการออกกำลังกายเพื่อขยายทรวงอก ทำได้โดยหายใจเข้าพร้อมก็ยกแขนขึ้น ยกหัวไหล่ขึ้นให้สุด หลังจากนั้นเอาแขนลงพร้อมหายใจออก ซึ่งท่านี้ก็จะช่วยให้ซี่โครงขยายได้ดีขึ้น และทำให้ทรวงอกขยับได้ดีขึ้นอีกด้วย 

การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของหัวใจและปอด สามารถเริ่มออกกำลังกายได้ด้วยการเดิน หรือปั่นจักรยาน ต่อเนื่องเป็นเวลา 30-60 นาทีต่อวัน 3-5 วันต่อสัปดาห์ ให้อาการเหนื่อยอยู่ในระดับ 2-3 คะแนน (คะแนนเต็ม 10) ถ้าออกกำลังกายแล้วอาการเหนื่อยลดลงแล้ว สามารถเพิ่มความหนักได้โดยการเพิ่มความเร็วในการเดินโดยให้มีระดับความเหนื่อยเพิ่มขึ้นในระดับ 4-6 หรือเพิ่มระยะเวลาในการออกกำลังกาย 5-10 นาที ในทุก ๆ 1-2 สัปดาห์

ขณะออกกำลังกายควรสังเกต อาการผิดปกติ เช่น เหนื่อยมากเกินไป แน่นหน้าอก ใจสั่น เวียนศีรษะ เหงื่อออกมากเกินปกติ หากมีอาการเหล่านี้ ควรหยุดออกกำลังกายทันที

สำหรับผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี หรือมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลอย่างใกล้ชิดก่อนออกกำลังกาย โดยหากพบอาการต้องสงสัย โดยเฉพาะอาการหอบเหนื่อย อ่อนเพลีย เช่น ก่อนเป็นโควิดเดินขึ้นบันได 2-3 ชั้นได้สบายๆ แต่หลังจากหายโควิดแค่เดินขึ้นบันไดไม่กี่ขั้นก็ต้องหยุดพัก หากพบการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ควรรีบมาปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษา ทำการฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแรงดังเดิม จะได้อยู่อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีและไร้กังวลอย่างแท้จริง 

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันภาวะ Long covid คือ การป้องกันโรค COVID-19

ทั้งนี้ วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันภาวะ Long covid คือ การป้องกันโรค COVID-19 โดยเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ และป้องกันการป่วยหนักแล้ว ยังช่วยปกป้องคนรอบข้างได้อีกด้วย รวมถึงการที่ต้องระมัดระวังตัวเองด้วยเช่นกัน ทั้งการเว้นระยะห่างทางสังคม การล้างมือบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมกันและการสวมหน้ากากอนามัยอยู่เสมอ 


ขอขอบคุณข้อมูล:
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Infographic: iURBAN

เว็บเราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ท่านได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถเลือกอนุญาตคุกกี้เองได้ที่ ตั้งค่าคุกกี้

Privacy Preferences

เมื่อท่านเข้าชมเว็บไซต์ของเรา อาจมีการจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของท่านในรูปแบบของคุกกี้ ข้อมูลนี้อาจเป็นข้อมูลเกี่ยวกับท่าน การตั้งค่าของท่าน อุปกรณ์ของท่าน ซึ่งจะถูกใช้เพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้ตามที่ท่านต้องการ ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่ได้ระบุตัวตนของท่านโดยตรง แต่ช่วยให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์แบบเฉพาะสำหรับท่านได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เราเคารพในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน โดยท่านสามารถเลือกปฏิเสธไม่ยอมรับให้คุกกี้บางประเภททำงานได้ ซึ่งท่านสามารถคลิกที่หัวข้อแต่ละประเภท เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนการตั้งค่าได้ อย่างไรก็ตาม การเลือกปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจส่งผลกระทบต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการที่เราเสนอให้แก่ท่านได้ ข้อมูลเพิ่มเติม

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จําเป็นสําหรับการทํางานของเว็บไซต์ (Strictly necessary cookies)
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่ทำให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้งานในเว็บไซต์ของเราได้อย่างปลอดภัย ส่วนนี้จะไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้ที่ช่วยในการใช้งาน (Functional Cookies)

    เราใช้ Cookies ประเภทนี้เพื่อช่วยจดจำอุปกรณ์หรือบราวเซอร์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถจัดทำเนื้อหาได้อย่างเหมาะสมกับความสนใจส่วนบุคคลของท่านได้รวดเร็วขึ้น และช่วยให้การบริการและแพลตฟอร์มได้อย่างสะดวกสบายและเป็นประโยชน์ต่อท่านมากยิ่งขึ้น

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เชิงสถิติ (Analytics Cookies)

    เราใช้ Analytics Cookies ที่ให้บริการโดย Google ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับรูปแบบการใช้งานของท่านบนเว็บไซต์ของเรา โดยข้อมูลนี้ประกอบไปด้วย หน้าเว็บไซต์ที่ท่านเข้าชม ลิงค์ที่ท่านคลิก ระยะเวลาที่ท่านเข้าชมในแต่ละหน้า โดยเราใช้ข้อมูลนี้เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการใช้งานของผู้ใช้ และเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    เราใช้คุกกี้ประเภทนี้จดจำการตั้งค่าของท่านในการเข้าใช้งานหน้าเว็บไซต์ หน้าเว็บที่ท่านได้เยี่ยมชม และลิงค์ที่ท่านเยี่ยมชม เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเข้าชมและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์และยังปรับปรุงเว็บไซต์ รวมทั้งเนื้อหาใดๆ ซึ่งปรากฏอยู่บนหน้าเว็บให้ตรงกับความสนใจของท่านมากยิ่งขึ้น และทดสอบความมีประสิทธิภาพของโฆษณาเรา และนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุดเท่าที่จำเป็น นอกจากนี้ เรายังอาจแชร์ข้อมูลนี้ให้กับบุคคลที่สามเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว
    Cookies Details

บันทึกการตั้งค่า