ปลายฝนต้นหนาว ขึ้นเหนือเที่ยวแบบไทยๆ เสพย์งานศิลป์ ยลจิตรกรรมฝาผนังที่เมืองน่าน 13 - ผนัง

ปลายฝนต้นหนาว ขึ้นเหนือเที่ยวแบบไทยๆ เสพย์งานศิลป์ ยลจิตรกรรมฝาผนังที่เมืองน่าน

ใครที่มาเยือนเมืองน่านล้วนอยากมีโอกาสได้เห็นภาพจิตรกรรมฝาผนังกระซิบรักบันลือโลกภายในอุโบสถ-วิหารวัดภูมินทร์กันทั้งนั้น เพราะภาพดังกล่าวได้กลายเป็นสมือนสัญลักษณ์ของจังหวัดน่านไปกลาย ๆ

สมเด็จพระเทพรัตนฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินจังหวัดน่านเมื่อปีพ.ศ. 2554 ได้วาดภาพเลียนแบบ “ภาพกระซิบรักบันลือโลก” พระราชทานให้กับเรือนจำชั่วคราว เขาน้อย และเมื่อได้เสด็จไปยังหอศิลป์ริมน่านทอดพระเนตรภาพวาดล้อเลียนกระซิบรักบันลือโลก ของ วินัย ปราบปูริ ศิลปินผู้ก่อตั้งหอศิลป์ริมน่าน ที่วาดภาพฝรั่งมาเที่ยวทำท่ากระซิบรักกัน ด้วยพระอารมณ์ขันจึงวาดภาพ “ตะโกน” เพื่อล้อเลียน ในภาพวาด “ตะโกน” นั้นผู้ชายไว้ผมทรงโมฮอร์กทำท่าตะโกน ส่วนผู้หญิงใส่ผ้าถุงเอามือป้องหูรับฟัง และทรงเขียนคำว่า “ตะโกน” ไว้ในรูปภาพ ซึ่งปัจจุบัน ทั้งภาพวาดเลียนแบบ และล้อเลียนของสมเด็จพระเทพรัตนฯ สยามบรมราชกุมารี ได้วางแสดงที่หอศิลป์ริมน่าน

ปลายฝนต้นหนาว ขึ้นเหนือเที่ยวแบบไทยๆ เสพย์งานศิลป์ ยลจิตรกรรมฝาผนังที่เมืองน่าน 14 - ผนัง
ภาพ“ปู่ผรั่ง-ญ่าฝรั่ง” ศิลปิน วินัย ปราบริปู
ปลายฝนต้นหนาว ขึ้นเหนือเที่ยวแบบไทยๆ เสพย์งานศิลป์ ยลจิตรกรรมฝาผนังที่เมืองน่าน 15 - ผนัง
ภาพกระซิบรัก สมเด็จพระเทพรัตนฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานให้กับเรือนจำชั่วคราว เขาน้อย ปัจจุบันแสดงที่หอศิลป์ริมน่าน
ปลายฝนต้นหนาว ขึ้นเหนือเที่ยวแบบไทยๆ เสพย์งานศิลป์ ยลจิตรกรรมฝาผนังที่เมืองน่าน 16 - ผนัง
ภาพฝีพระหัตถ์ “ตะโกน”

ภาพกระซิบรักบันลือโลก มีขนาดใหญ่เกือบเท่าคนจริง ปรากฏบนผนังอุโบสถ-วิหารวัดภูมินท์อันเป็นวัดหลวงในเขตกำแพงเมืองน่าน

เมื่ออยากเห็น…. สถานที่แรกในเมืองน่านที่พวกเนสมุ่งตรงไปเยือนจึงเป็นวัดภูมินทร์

จิตรกรรมฝาผนังที่วัดภูมินทร์

วัดภูมินทร์เป็นวัดหลวงขนาดเล็ก ตั้งอยู่ใจกลางเมือง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๑๓๙ และได้ทำการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยเจ้าอนันตรวรฤทธิเดช ระหว่างพ.ศ. ๒๔๑๐ – ๒๔๑๗เทียบเคียงง่าย ๆ ราวปลายสมัยรัชกาลที่ ๔  ลักษณะเด่นแปลกของวัดแห่งนี้ อยู่ที่ตัวอุโบสถและวิหารของวัดที่อยู่ร่วมอาคารทรงจัตุรมุขเดียวกัน มีประตูประจำมุขและบันไดรองรับทางเข้าออกตามทิศทั้งสี่

ปลายฝนต้นหนาว ขึ้นเหนือเที่ยวแบบไทยๆ เสพย์งานศิลป์ ยลจิตรกรรมฝาผนังที่เมืองน่าน 17 - ผนัง
วัดภูมินทร์
ปลายฝนต้นหนาว ขึ้นเหนือเที่ยวแบบไทยๆ เสพย์งานศิลป์ ยลจิตรกรรมฝาผนังที่เมืองน่าน 18 - ผนัง
ภาพวาดวัดภูมินทร์ ศิลปิน วินัยปราบริปู แสดงใน หอศิลป์ ริมน่าน

เมื่อยืนมองอุโบสถ-วิหารจากด้านนอกทางทิศตะวันออกหรือจะทิศตะวันตก จะเห็นตัวนาคพาดตัวตามแนวบันไดจากทางทิศเหนือไปยังทิศใต้อย่างเด่นชัด หัวนาคนั้นอยู่ทางทิศเหนือ หางนาคทอดยาวเป็นบันไดลงไปทางทิศใต้ จึงเหมือนกับว่านาคนั้นได้พาดตัวรองรับตัวอุโบสถ-วิหารไว้ ดูแปลกตา ทว่าลงตัว และงดงาม ทีเดียว

เอาล่ะ…

เราตั้งใจมายลภาพจิตรกรรมฝาผนังกันนี่นา เมื่อเป็นอย่างนั้นพวกเราจึงพากันถอดรองเท้าย่างก้าวเข้าไปด้านใน

ภายในอุโบสถ-วิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัย  ๔ องค์ บนฐานซุกชีหันพระพักตร์ออกด้านประตูทั้งสี่ทิศ  และมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องราวชาดก ตำนานพื้นบาน และวิถีชีวิตของชาวเมืองน่านในอดีต

ปลายฝนต้นหนาว ขึ้นเหนือเที่ยวแบบไทยๆ เสพย์งานศิลป์ ยลจิตรกรรมฝาผนังที่เมืองน่าน 19 - ผนังปลายฝนต้นหนาว ขึ้นเหนือเที่ยวแบบไทยๆ เสพย์งานศิลป์ ยลจิตรกรรมฝาผนังที่เมืองน่าน 20 - ผนัง

ภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้งหมดเป็นศิลปะแบบชาวไทลื้อ ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่อพยพ มาจากดินแดนสิบสองปันนา หลวงพระบาง และล้านช้างนั่นทำให้ภาพวาดดูแปลกตา สังเกตดูใบหน้าผู้คน  ลักษณะกลมแป้น คิ้วโค้ง นัยน์ตากรุ้มกริ่ม  มองดูแล้ว มีชีวิตชีวา
หากไล่เรียงดูประวัติการสร้างวัดภูมินทร์ในพงศาวดารเมืองน่านแล้ว  ไม่มีข้อมูลระบุบ่งชัดว่า ช่างเขียนผู้วาดภาพจิตรกรรมฝาผนังคือใคร แถมยังเป็นการวาดภายหลังจากที่ได้มีการปฏิสังขรณ์ตัววัดครั้งใหญ่อีกด้วย จึงได้แต่คาดเดากันจากลักษณะภาพวาดว่าน่าจะเป็นผลงานของช่างเขียน หรือสล่าชาวไทลื้อ  ซึ่งเข้าเค้าทีเดียว เพราะตามประวัติศาสตร์แล้ว เจ้าผู้ปกครองเมืองน่านมักทำสงครามกับเมืองเชียงใหม่ อยู่เนือง ๆ ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ เมื่อแพ้ทีใดก็จะหลบหนีไปยังล้านช้าง รวบรวมสรรพกำลังพลกลับเข้ามาตีเอาเมืองน่านกลับคืน เพราะวิถีเป็นบบนี้จึงมีชาวไทลื้อจากเมืองล้านช้างติดกองทัพกลับมาด้วย จนกลายเป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองน่าน

ปลายฝนต้นหนาว ขึ้นเหนือเที่ยวแบบไทยๆ เสพย์งานศิลป์ ยลจิตรกรรมฝาผนังที่เมืองน่าน 21 - ผนังปลายฝนต้นหนาว ขึ้นเหนือเที่ยวแบบไทยๆ เสพย์งานศิลป์ ยลจิตรกรรมฝาผนังที่เมืองน่าน 22 - ผนังปลายฝนต้นหนาว ขึ้นเหนือเที่ยวแบบไทยๆ เสพย์งานศิลป์ ยลจิตรกรรมฝาผนังที่เมืองน่าน 23 - ผนังปลายฝนต้นหนาว ขึ้นเหนือเที่ยวแบบไทยๆ เสพย์งานศิลป์ ยลจิตรกรรมฝาผนังที่เมืองน่าน 24 - ผนัง

ภาพวาดภายในอุโบสถ-วิหาร  เล่าเรื่องราวจาก “คัทธณะกุมารชาดก”   เป็นหลักประสมกับ ตำนานพื้นบ้าน และความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต และแน่นอนภาพที่โดดเด่นที่สุด คือภาพกระซิบรักบันลือโลกที่มีขนาดใหญ่เกือบเท่าคนจริง

ภาพวาดดังกล่าวเป็นภาพชายหนุ่ม หญิงสาวในชุดแต่งกายแบบพม่า ยืนกระซิบกระซาบ หยอกล้อ ส่งสายตากรุ้มกริ่มให้กัน โดยมีอักษรล้านนาโบราณเขียนกำกับไว้ด้านบน ถอดความได้ว่า “ ปู่ม่าน ญ่าม่าน”

คำว่า “ม่าน” ภาษาถิ่นล้านนาหมายถึงพม่า  ขณะที่ “ปู่” และ “ญ่า”ใช้เป็นสรรพนามเรียกผู้ชายและผู้หญิง  คำว่า “ปู่ม่านญ่าม่าน”  จึงเชื่อว่าน่าจะหมายถึง “หนุ่มพม่า สาวพม่า”

ปลายฝนต้นหนาว ขึ้นเหนือเที่ยวแบบไทยๆ เสพย์งานศิลป์ ยลจิตรกรรมฝาผนังที่เมืองน่าน 25 - ผนัง
ภาพ “ปู่ม่านญ่าม่าน”  หรือ “กระซิบรักบรรลือโลก”

กริยา ท่าทาง และนัยน์ตาที่กรุ้มกริ่มนี่แหละ… ให้อารมณ์ดีนักเชียว เมื่อยืนอยู่เบื้องหน้าภาพจิตรกรรมดังกล่าวจึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมภาพวาดนี้จึงโด่งดังนัก  และนั่นทำให้ใคร ๆ ใคร่อยากรู้ว่า ศิลปินที่วาดภาพนี้คือใครกันแน่   ข้อสันนิษฐานที่ดูจะน่าเชื่อถือและมีน้ำหนักมากที่สุดมาจากการสันนิษฐานของ “วินัย ปราบริปู” ศิลปินชาวน่านที่ได้ทำการเทียบเคียงภาพวาดในวัดภูมินทร์กับวัดหนองบัวที่เป็นวัดประจำหมู่บ้านหนองบัว อำเภอท่าวังผา แล้วพบว่าภาพวาดได้วาดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน ทั้งโครงสร้างสีที่ใช้มีความคล้ายคลึงกันอีก มีการใช้สีแดง น้ำเงิน และเหลือง เป็นหลัก ทั้งใบหน้า และฉากในภาพวาดยังเหมือนกันอีกด้วยเมื่อเป็นเช่นนั้น จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฝีมือของศิลปินชาวไทลื้อคนเดียวกัน นั่นคือหนานบัวผัน

หากเดินดูภาพวาดทั้งหมดภายในอุโบสถ-วิหาร จะสังเกตเห็นว่า ภาพวาดของหนานบัวผันนั้นมีลักษณะเฉพาะตัวที่โดดเด่นจริง ๆ  ตัวละครบนภาพวาดแสดงอารมณ์ความรู้สึกชัดเจน ผ่านใบหน้าที่กลมแป้น คิ้วเป็นรูปวงพระจันทร์ นันย์ตากรุ้มกริ่ม   เวลาดีใจมุมปากที่เป็นรูปกระจับจะเชิดขึ้นทั้งสองข้าง และหุบลงเมื่อเศร้าเสียใจ

ทว่าภาพวาดบนผนังในอุโบสถ-วิหารวัดภูมินทร์ ไม่ได้เป็นฝีมือของหนานบัวผันเพียงลำพัง ผนังด้านทิศใต้และตะวันตกบางส่วนเป็นฝีมือของช่างเขียนนิรนามคนอื่น เพราะมีฝีมือและทักษะที่อ่อนด้อยกว่าอย่างเห็นได้ชัด

และ…. เมื่อไหน ๆ ตั้งใจจะเที่ยวชมดูภาพจิตกรรมฝาผนังเมืองน่านแล้ว จะให้ครบถ้วน ต้องไปยลที่วัดหนองบัวต่อ

จิตรกรรมฝาผนังที่วัดหนองบัว

วัดหนองบัว ตั้งอยู่หมู่บ้านหนองบัว อำเภอท่าวังผา เป็นหมู่บ้านที่มีชุมชนชาวไทลื้ออาศัยเอยู่ป็นจำนวนมาก  อยู่ถัดห่างจากอำเภอเมืองน่านไปราว 45 กิโลเมตร

เราไปเยือนวัดหนองบัวแต่รุ่งเช้า…. ทันทีที่ก้าวเข้าไปในเขตวัด ไม้ใหญ่เขียวครึ้มให้ความร่มรื่น ประสมกับ เสียงดนตรีพื้นเมืองที่บรรเลงโดยเหล่าคุณลุงในพื้นที่ที่จิตอาสามาล้อมวงเล่นด้วยกัน เพื่อต้อนรับผู้มาเยือน

เปิดบรรยากาศมาแบบนี้… ทำเอาเทใจให้กับความสงบร่มรื่น เรียบง่ายที่ปราศจากความเป็นพุทธพาณิชย์ไปสิบเต็มสิบเลยทีเดียว

วิหารวัดหนองบัวที่เห็นเบื้องหน้า  ลักษณะหลังคาทรงจั่วเป็นชั้นลดหลั่น ตามแบบสถาปัตยกรรมแบบไทลื้อ  บริเวณหน้าจั่วมีการใช้กระจกสีประดับประดาเป็นลวดลาย

ปลายฝนต้นหนาว ขึ้นเหนือเที่ยวแบบไทยๆ เสพย์งานศิลป์ ยลจิตรกรรมฝาผนังที่เมืองน่าน 26 - ผนัง
วัดหนองบัว
ปลายฝนต้นหนาว ขึ้นเหนือเที่ยวแบบไทยๆ เสพย์งานศิลป์ ยลจิตรกรรมฝาผนังที่เมืองน่าน 27 - ผนัง
วัดหนองบัว

เมื่อก้าวเข้าไปด้านใน  ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฏ ใช้โครงสี และมีลักษณะการวาดที่คล้ายคลึงกับที่วัดภูมินทร์

ตามประวัติการสร้างวัด ไม่มีการระบุเช่นกันว่าใครเป็นผู้วาดภาพจิตรกรรมเหล่านี้แต่มีการเก็บรักษาภาพร่างด้วยหมึกในกระดาษสาพับ  ที่ช่างเขียนจะใช้ร่างภาพก่อนวาดจริง  ภาพร่างนั้นระบุว่าเป็นของ “หนานบัวผัน” เมื่อตรวจสอบพบว่าภาพร่างในนั้น ได้ปรากฏบนผนังที่วัดหนองบัว และวัดภูมินทร์ จึงเป็นหลักฐานที่ทำให้เชื่อว่า ช่างเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดภูมินทร์และวัดหนองบัว เป็นฝีมือช่างเขียนคนเดียวกัน นั่นคือ “หนานบัวผัน”

คุณลุงท่านที่ได้เข้ามาต้อนรับเราตั้งแต่แรก ได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาพวาดในวิหาร  เรื่องราวที่ร้อยเรียงบนผนัง ถอดเค้าโครงมาจากเรื่องจันทคาธชาดกอันเป็นชาดกที่ชาวล้านนา และล้านช้าง ใช้สอนเรื่องการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม การเป็นผู้มีกตัญญูรู้คุณคน  ความซื่อสัตย์และความเมตตากรุณาและวัดแห่งนี้เป็นที่เดียวที่เขียนภาพจากชาดกเรื่องดังกล่าว

ขณะเดินชมดู นึกเสียดายที่คราวน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 น้ำได้ไหลเข้าท่วมตัววิหาร ทำให้ภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านล่าง ได้รับความเสียหายไปไม่น้อย

แม้เสียดาย แต่เห็นใบหน้าของคุณลุงที่เข้ามาให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัววัด รวมถึง บรรดาเหล่าคุณลุงทั้งหลายที่นั่งเล่นดนตรีกันด้านนอกแล้ว  เชื่อมั่นว่า แม้นภัยธรรมชาติจะก่อให้เกิดความเสียหายไปบ้าง แต่วัดแห่งนี้  จะได้รับการดูแลรักษา จากผู้คนในท้องถิ่น ให้เป็นมรดกสืบทอดต่อไปถึงรุ่นลูก รุ่นหลานได้เป็นอย่างดี
ปลายฝนต้นหนาว ขึ้นเหนือเที่ยวแบบไทยๆ เสพย์งานศิลป์ ยลจิตรกรรมฝาผนังที่เมืองน่าน 28 - ผนังปลายฝนต้นหนาว ขึ้นเหนือเที่ยวแบบไทยๆ เสพย์งานศิลป์ ยลจิตรกรรมฝาผนังที่เมืองน่าน 29 - ผนังปลายฝนต้นหนาว ขึ้นเหนือเที่ยวแบบไทยๆ เสพย์งานศิลป์ ยลจิตรกรรมฝาผนังที่เมืองน่าน 30 - ผนังปลายฝนต้นหนาว ขึ้นเหนือเที่ยวแบบไทยๆ เสพย์งานศิลป์ ยลจิตรกรรมฝาผนังที่เมืองน่าน 31 - ผนังปลายฝนต้นหนาว ขึ้นเหนือเที่ยวแบบไทยๆ เสพย์งานศิลป์ ยลจิตรกรรมฝาผนังที่เมืองน่าน 32 - ผนัง

เฮือนหนองบัวผัน  เรือนแสดงภาพถ่ายจิตรกรรมฝาผนังในเมืองน่าน

สุดท้ายหลังจากได้เยี่ยมชมจิตรกรรมฝาผนังทั้งที่วัดภูมินทร์ และวัดหนองบัว  การตามรอยจิตรกรรมเมืองน่านจะสมบูรณ์ยิ่งขึ้นหากได้ไปเยี่ยมชมหอศิลป์ริมน่าน หอศิลป์เอกชน ที่ก่อตั้งโดย วินัย ปราบริปูบนพื้นที่ 13ไร่ ริมทางถนนสู่เมืองน่าน
ที่หอศิลป์ฯ นอกจากจะได้ชมภาพวาดเลียนแบบ และล้อเลียนภาพกระซิบรักบันลือโลก ผลงานของสมเด็จพระเทพรัตนฯ สยามบรมราชกุมารีและวินัย ปราบริปู แล้วภาพในเขตหอศิลป์ฯ  ยังมีอาคาร “เฮือนหนานบัวผัน” ที่วินัย ปราบริปูสร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ “หนานบัวผัน”  ศิลปินผู้เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ และ วัดหนองบัว โดยภาพในเรือนแสดงเป็นภาพถ่ายจากจิตรกรรมฝาผนังจากวัดภูมินทร์ วัดหนองบัว รวมถึงจิตรกรรมฝาผนังที่สำคัญอื่นในเมืองน่าน จัดแสดงอย่างถาวร เพื่อเป็นสถานที่ให้ผู้มาเยือนได้ตามรอยจิตรกรรมเมืองน่านอย่างสมบูรณ์

ปลายฝนต้นหนาว ขึ้นเหนือเที่ยวแบบไทยๆ เสพย์งานศิลป์ ยลจิตรกรรมฝาผนังที่เมืองน่าน 33 - ผนัง

เว็บเราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ท่านได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถเลือกอนุญาตคุกกี้เองได้ที่ ตั้งค่าคุกกี้

Privacy Preferences

เมื่อท่านเข้าชมเว็บไซต์ของเรา อาจมีการจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของท่านในรูปแบบของคุกกี้ ข้อมูลนี้อาจเป็นข้อมูลเกี่ยวกับท่าน การตั้งค่าของท่าน อุปกรณ์ของท่าน ซึ่งจะถูกใช้เพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้ตามที่ท่านต้องการ ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่ได้ระบุตัวตนของท่านโดยตรง แต่ช่วยให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์แบบเฉพาะสำหรับท่านได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เราเคารพในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน โดยท่านสามารถเลือกปฏิเสธไม่ยอมรับให้คุกกี้บางประเภททำงานได้ ซึ่งท่านสามารถคลิกที่หัวข้อแต่ละประเภท เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนการตั้งค่าได้ อย่างไรก็ตาม การเลือกปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจส่งผลกระทบต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการที่เราเสนอให้แก่ท่านได้ ข้อมูลเพิ่มเติม

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จําเป็นสําหรับการทํางานของเว็บไซต์ (Strictly necessary cookies)
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่ทำให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้งานในเว็บไซต์ของเราได้อย่างปลอดภัย ส่วนนี้จะไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้ที่ช่วยในการใช้งาน (Functional Cookies)

    เราใช้ Cookies ประเภทนี้เพื่อช่วยจดจำอุปกรณ์หรือบราวเซอร์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถจัดทำเนื้อหาได้อย่างเหมาะสมกับความสนใจส่วนบุคคลของท่านได้รวดเร็วขึ้น และช่วยให้การบริการและแพลตฟอร์มได้อย่างสะดวกสบายและเป็นประโยชน์ต่อท่านมากยิ่งขึ้น

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เชิงสถิติ (Analytics Cookies)

    เราใช้ Analytics Cookies ที่ให้บริการโดย Google ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับรูปแบบการใช้งานของท่านบนเว็บไซต์ของเรา โดยข้อมูลนี้ประกอบไปด้วย หน้าเว็บไซต์ที่ท่านเข้าชม ลิงค์ที่ท่านคลิก ระยะเวลาที่ท่านเข้าชมในแต่ละหน้า โดยเราใช้ข้อมูลนี้เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการใช้งานของผู้ใช้ และเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    เราใช้คุกกี้ประเภทนี้จดจำการตั้งค่าของท่านในการเข้าใช้งานหน้าเว็บไซต์ หน้าเว็บที่ท่านได้เยี่ยมชม และลิงค์ที่ท่านเยี่ยมชม เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเข้าชมและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์และยังปรับปรุงเว็บไซต์ รวมทั้งเนื้อหาใดๆ ซึ่งปรากฏอยู่บนหน้าเว็บให้ตรงกับความสนใจของท่านมากยิ่งขึ้น และทดสอบความมีประสิทธิภาพของโฆษณาเรา และนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุดเท่าที่จำเป็น นอกจากนี้ เรายังอาจแชร์ข้อมูลนี้ให้กับบุคคลที่สามเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว
    Cookies Details

บันทึกการตั้งค่า