รีวิว Sony Android TV : ทีวีสุดไฮเทคใส่สมองจาก Google ใส่หัวใจโดย Sony 13 - Android

รีวิว Sony Android TV : ทีวีสุดไฮเทคใส่สมองจาก Google ใส่หัวใจโดย Sony

วันนี้ทีมงาน iURBAN ได้สัมผัสกับเทคโนโลยีทีวีที่ทั่วโลกรอคอย คือ ทีวีในระบบปฏิบัติการจาก Android สามารถเรียกได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการทีวีที่ฉลาดที่สุด และวันนี้เทคโนโลยีนั้นได้ออกมาผ่านผู้ผลิตทีวีชั้นนำของโลกอย่าง Sony เจ้าของทีวีคุณภาพในนาม BRAVIA ผู้ร่วมสร้างทีวีพลิกโลกวันนี้

Sony แบรนด์ที่มีหัวใจพลิกโลก

เมื่อพูดถึงผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและเทคโนโลยี โซนี่เป็นแบรนด์ที่มีจิตวิญญานมาก เริ่มจากสองท่านผู้ก่อตั้ง มาซารุ อิบูกะ และ อากิโกะ โมริตะ ที่ได้ผู้ก่อตั้ง “โตเกียว เทเลคอมมิวนิเคชั่น รีเสิร์ช อินสติติวท์” ขึ้นในปี 1946 และพัฒนาต่อจนกลายเป็นเครือข่ายบริษัทข้ามชาติที่มีมูลค่าสูงถึงพันล้านดอลลาร์ จุดประสงค์ก็เพื่อออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชาวโลก

founders
มาซารุ อิบูกะ และ อากิโกะ โมริตะ ผู้ก่อตั้ง

โดยผลิตภัณฑ์แรกที่ถูกพัฒนาและประสบความสำเร็จก็คือ “หม้อหุงข้าว” จากนั้นก็พัฒนาอีกหลายผลิตภัณฑ์จนประสบความสำเร็จมากขึ้นเรื่อยๆ โดยผลิตภัณฑ์ที่แจ้งเกิดคือ วิทยุทรานซิสเตอร์เจ้าแรกของญี่ปุ่น, โทรทัศน์สีแบบไตรนิตรอน (Sony Trinitron) ทีวีจอแก้วที่พัฒนาเทคโนโลยีมาเรื่อยจนปัจจุบันเป็น Sony Bravia ในปัจจุบัน, โซนี่ วอล์คแมน (Sony Walkman) เครื่องเล่นเทปพกพาที่โด่งดังที่สุดในยุคเครื่องเล่นเทป, โซนี่ แฮนดี้แคม (Sony Handycam) กล้องถ่ายวิดีโอ, เพลย์สเตชั่น (Playstation) เครื่องเล่นเกมที่ล้ำสมัยที่สุดของโลกวันนี้, Blu-ray Disc โซนี่ก็หนึ่งในกลุ่มผู้พัฒนาเทคโนโลยีนี้ร่วมกับแบรนด์อื่นๆ ทำให้ชื่อเสียงของแบรนด์ Sony โด่งดังเรื่อยมา

The Sony Timeline by Jesús Díaz - Gizmodo
The Sony Timeline by Jesús Díaz – Gizmodo

ที่มาของ “โซนี่” เกิดจาก คำว่า โซนัส แปลว่า เสียง (Sonus ในภาษาลาติน) + ซันนี่ แปลว่า ลูกน้อย (Sonny ในภาษาอังกฤษ) มาผสมกัน แปลได้ประมาณว่า หนุ่มสาวกลุ่มเล็กๆ ที่มีพลังมุ่งมั่นที่จะพัฒนานวัตกรรมแบบไร้ขีดจำกัดสู่โลก จนในปี 1958 ก็เลยใช้ชื่อ “โซนี่คอร์ปอเรชั่น” (Sony Corporation) มาตอบสนองแนวคิดและขยายกิจการไปทั่วโลก โดยชื่อ Sony นั้นยังให้ความรู้สึกมีชีวิตชีวา อิสระ และเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ อีกด้วย

โทรทัศน์จาก Sony TV ในอดีต

ในปี 1968 Sony ได้เปิดตัวโทรทัศน์ของตัวเองครั้งแรกสู่โลก ในยุคที่ทีวียังเป็นจอแก้วนูนแบบ CRT กับแบรนด์ชื่อ โซนี่ ไตรนิตรอน (Sony Trinitron) แล้วก็ขึ้นมากลายเป็นผู้นำยอดขายในตลาดโทรทัศน์ได้ด้วยเทคโนโลยีโฆษณาว่า ให้ภาพสว่างกว่าทีวีทั่วไป 25% และเทคโนโลยีอื่นๆที่ใส่ไปในผลิตภัณฑ์ พอมาถึงยุคของแอลซีดีทีวี (LCD TV) โซนี่ได้ออกแบรนด์โทรทัศน์ใหม่ในนาม โซนี่ เวก้า (Sony WEGA) มาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงปี 2005 ประมาณเวลาก่อนเข้าสู่เจนเนอเรชั่นของยุคแอลอีดีทีวีเล็กน้อย (LED TV)  โซนี่ได้เปิดตัวแบรนด์ชื่อ โซนี่ บราเวียร์ (Sony BRAVIA) โดยชื่อของ BRAVIA นั้นย่อมาจาก Best Resolution Audio Visual Integrated Architecture หรือเป็นไทยประมาณว่า “สถาปัตยกรรมที่ผสานระหว่างเสียงและภาพที่คมชัดที่สุด” ซึ่งโซนี่ก็ใช้ชื่อ BRAVIA กับสินค้ากลุ่มโทรทัศน์มาจนถึงยุคของ Android TV ในวันนี้

KV-1310 โทรทัศน์สี Sony Trinitron เครื่องแรกของโลก
KV-1310 โทรทัศน์สี Sony Trinitron เครื่องแรกของโลก – ขอบคุณภาพจาก Turbosquid, Steve9119 & Robbcrk

การพัฒนา Android TV ซอฟต์แวร์ที่ฉลาดที่สุดของโทรทัศน์วันนี้

Android TV เป็นโครงการส่วนหนึ่งของ Google บนความตั้งใจที่จะทำโทรทัศน์ให้ฉลาดมากขึ้น ด้วยระบบปฏิบัติการของตนเองที่ใช้บนมือถือมาแล้วทั่วโลก การที่ Google พัฒนา Android เพื่อลงในทีวีได้จะสามารถช่วยให้ได้ประโยชน์มากขึ้นในหลายมุม

ขอบคุณภาพจาก Android.com
ขอบคุณภาพจาก Android.com

ในมุมของ Google ที่พัฒนาระบบปฏิบัติการให้อุตสาหกรรมทีวี เพราะการสามารถครองส่วนแบ่งระบบปฏิบัติการที่กว้างมากขึ้น ทำให้สามารถทำรายได้จากการขาย-เช่าดูภาพยนตร์ได้ และสามารถส่งผลิตภัณฑ์ของ Google ต่างๆไปถึงจอทีวีในบ้าน ไม่ว่าจะเป็น Google Search, YouTube และ PlayStore รวมถึงการมีพื้นที่ในการส่งระบบโฆษณาไปถึงกว้างมาขึ้น เช่น โฆษณาบน YouTube ก็จะสามารถไปถึงทีวีบ้านคุณได้ ทำให้สามารถครอบคลุมพื้นที่ธุรกิจได้กว้างขึ้น

ภาพจากคลิป Google เปิดตัว Android TV ในงาน Google IO
ภาพจากคลิป Google เปิดตัว Android TV ในงาน Google IO xu

ในมุมของ Sony และผู้ผลิตทีวีรายอื่น จุดแข็งของผู้ผลิตทีวีคือ มีประสบการณ์และซัพพลายเออร์ในการผลิตเครื่องโทรทัศน์ที่มีคุณภาพดีกว่า รวมถึงความเชื่อมั่นในแบรนด์ที่สร้างมาหลายสิบปี แต่ถ้าเทียบในแง่ของซอฟต์แวร์แล้ว ต้องยอมรับว่า Google ได้สะสมนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เก่งมากกว่าเหล่าผู้ผลิตทีวี การพัฒนาจากศูนย์กลางที่ Google และปล่อยให้ทีวียี่ห้อต่างๆนำแกนระบบหลักไปปรับปรุงให้เป็นสไตล์ของยี่ห้อตนเอง ทำให้ผู้ผลิตทีวีสามารถโฟกัสการแข่งขันไปที่ด้านคุณภาพฮาร์ดแวร์ได้มากขึ้น ส่วนซอฟต์แวร์ ก็มาใช้ของ Android TV เหมือนโทรศัพท์มือถือ Android

ในมุมของลูกค้าผู้ใช้งาน เมื่อคนยุคใหม่ดูทีวีน้อยลงแต่ใช้มือถือมากขึ้น ดังนั้นทีวีในยุคใหม่จึงมีฟังก์ชันที่เพิ่มขึ้นมาคือการต่ออินเทอร์เน็ตได้ แต่เมื่อต่อได้การแค่ใช้ดู YouTube มันเลยดูน้อยเกินไป พอมี app ดีๆมาเล่นสนุกจึงทำให้ทีวีกลายเป็นศูนย์กลางความบันเทิง โดยเฉพาะที่ Android บนมือถือวันนี้มีมากกว่า 1,600,000 แอปแล้ว แม้ไม่ได้ทุกแอปที่จะเจอบน Android TV แต่ก็มีเยอะมากที่เมื่อเทียบกับ Smart TV ที่แต่ละค่ายไปพัฒนากันเองแบบเทียบกันไม่ได้ และคาดว่าในอนาคตจะมีเกมและแอปเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

ความจริงคือ Sony ไม่ได้เป็นแบรนด์เดียวที่ทำ Android TV แต่การขยับตัวไวของยี่ห้อที่เป็นผู้นำตลาดปกติจะค่อนข้างกั้กแล้วเข้าสู่เทคโลโลยีทีหลังเจ้าอื่น แต่รอบนี้เปิดตัว Sony เปิดตัว Android TV ก่อนแบรนด์เล็กกว่าอีก เป็นปรากฏการการตัดสินใจที่เด็ดขาดของ Sony จริงๆ ที่เข้าร่วมกับ Google ขอคาราวะในความไม่ถือตัวของยักษ์ใหญ่แบรนด์นี้

sony-android-tv
Android TV ของ Sony มีให้เลือกถึงระดับ 4K

มันสมองระดับศาสตราจารย์ หุ่นระดับนางแบบ

ทีวีเมื่อติดตั้งอยู่ในห้องไหนก็ตาม มักจะกลายเป็นศูนย์กลางของห้องนั้น ดังนั้นจึงมีผลต่อความรู้สึกของผู้ที่อยู่ในห้อง การออกแบบให้สวยงามจึงเป็นสิ่งผู้ผลิตยุคปัจจุบันให้ความสำคัญกันมากขึ้น ดังนั้นก่อนจะเปิดเครื่อง เราจะมาดูการออกแบบที่สวยงามของ Sony Android TV เครื่องแรกของโซนี่ และเครื่องแรกๆของโลกนี้กันครับ โดยเครื่องที่เราได้มา คือรุ่น KDL-50W800C เป็นทีวีขนาด 50 นิ้ว ตัวนี้ยังไม่เป็น 4K นะครับ แต่รุ่นอื่นที่เป็น 4K ก็มีขายแล้วเหมือนกัน

งานออกแบบ Sony Android TV

ตัวเครื่องและขอบจอที่บางมาก ความรู้สึกของทีวีที่มีขอบบาง เมื่อเปิดทีวีแล้วความสวยงามรู้สึกได้เหมือนภาพนั้นลอยอยู่กลางอากาศ ความหนาของหน้าจอบางมากประมาณ 1.5 ซ.ม.เท่านั้นเอง แต่ข้างหลังจะมีแผงต่อเชื่อมอุปกรณ์ต่างๆ ที่หนาขึ้นมาอีกประมาณ 10-15 ซ.ม. คือ จอบางมากจน Sony ต้องให้เหล็กค้ำกันชน สำหรับคนติดตั้งไว้กับผนังเล็กๆสองชิ้นมาด้วย

sony-android-tv-review-thai-1-2

Minimal & Material Design การออกแบบทีวีนำไปสู่แนวทางสมัยใหม่มาก เน้นเรียบแต่ดูดี มีโชว์ลายโลหะที่ขอบให้ความรู้สึกถึงความใส่ใจในการเลือก material บอดี้ออกแบบเป็นสีดำด้าน บนด้านหน้าไม่มีโลโก้เยอะ ไม่มีโลโก้ Android ไม่มีรหัสรุ่นด้านหน้า มีเพียงโลโก้ BRAVIA เล็กและจางแอบอยู่

sony-android-tv-review-thai-2-3
ขอบจอด้านบนเป็นลายเนื้อโลหะโชว์ meterial
sony-android-tv-review-thai-1-3
โลโก้ BRAVIA ที่บางเพียงนิดเดียว

sony-android-tv-review-thai-2-2

มีเพียงโลโก้ Sony อยู่ตรงกลางที่ฐานด้านล่าง ภาพรวมเป็นทีวีที่ออกแบบทาง minimal มากแต่ดูฉลาดจากภายนอก เพราะมีไฟ LED แอบแสดงสถานะของทีวีโต้ตอบกับผู้ใช้ สามารถโต้ตอบกับคุณได้อย่างกับมันมีลมหายใจ

sony-android-tv-review-thai-3-3
Illuminate Light แสงใต้โลโก้ที่ปรับรูปแบบการตอบสนองได้หลายชนิด

ขาตั้งทีวีสำหรับจอ 50 นิ้ว ออกแบบวางตรงกลาง ทีวีมีแทนวางแบบแก้ปัญหาได้ดี คือขาเกือบกึ่งกลาง ข้อดีของขาที่อยู่ศูนย์กลางคือ ไม่ต้องใช้โต้ะขนาดใหญ่ในการวาง แต่ถ้ามีเด็กวิ่งชนก็มีสิทธิหักพังได้ง่าย เพราะรับน้ำหนักอยู่จุดเดียว ที่ Sony ออกแบบมาให้เครื่องนี้จึงเป็นแบบตรงกลางแต่กางขาออกเพื่อกระจายน้ำหนัก มั่นคงไม่หักเพราะแรงกระแทกทั่วไป

sony-android-tv-review-thai-3-2
ขาตั้งแบบนี้ดีตรงที่แข็งแรงและฝุ่นไม่จับ ดูใหม่อยู่เสมอ

เชื่อมต่อด้วย WIFI การต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน WIFI ช่วยให้ลดสายรุงรังไปได้เยอะชีวิตง่ายขึ้น ในทางเดียวกัน เค้าก็มีช่อง Lan ให้ด้วย จากการทดสอบใช้งานง่ายมาก ต่อครั้งเดียวจบ

sony-android-tv-review-thai-4-2
เมนูที่ต้องใช้บ่อยๆอย่าง WIFI วางด้านนอกมาให้แต่แรกเลย

Touchpad Remote & One Flick Entertainment อุปกรณ์ชิ้นไฮไลท์ ส่งสัญญานผ่านทาง bluetooth สามารถสั่งการได้แม้ตีลังกาดูทีวี ไม่ต้องชี้ไปหาเครื่อง นอกจากนั้นยังใช้เป็นระบบ Search ด้วยเสียงได้  จากการทดสอบแล้วพลังความฉลาดจาก Android ทำให้มันฟังภาษาไทยผสมภาษาอังกฤษแบบไทยๆ ได้ฉลาดและแปลถูกเกือบหมด ในการค้นหาด้วยเสียงจะทำงานผ่าน Google ทีวีต้องต่อกับ internet ตลอดเวลา ส่วน One Flick คือฟังชันให้คุณสามารถค้นหาคลิปอื่นต่อได้ระหว่างที่คุณยังคงดูคลิปเดิมอยู่ สะดวกไม่ต้องออกจากการชม การใช้งานก็ง่ายและสะดวกมาก กดปุ่มเดียวก็สามารถพูดภาษาไทยให้ทีวีเสิร์ชหาคลิป, แอป หรือเว็บได้ทันที

sony-android-tv-review-thai-remote sony-android-tv-review-thai-4-3

อุปกรณ์เสริม ที่น่าสนใจมี 1. เกมคอนโทรเลอร์ 2. คีย์บอร์ด มีช่องต่อ USB ทำให้คุณสามารถเล่นเกมบน Android TV ได้ผ่านเกมคอนโทรเลอร์ยี่ห้ออื่นอย่าง Logitech ก็ใช้ได้ แถมเกมคอนโทรเลอร์ยังนำมาควบคุมทีวีได้อีกด้วย

sony-android-tv-review-thai-5-3
ใช้จอยเกมเล่นสนุกละทีนี้ ไม่ต้องจิ้มจอแล้ว

เทคโนโลยีบทความง่ายโดนใจคนไทย Sony Android TV

บทความนี้จะไม่รีวิวถึงการดูทีวีทั่วไปเพราะเป็นสิ่งที่ Sony Bravia ทำได้ดีอยู่แล้ว แต่จะรีวิวถึงความสามารถที่เสริมมาจาก Android มากกว่า ว่าสิ่งไหนที่ทำให้ทีวีเครื่องนี้แตกต่างออกจากทีวีโดยทั่วไป

ศูนย์กลางความบันเทิงที่ทุกคนใช้เป็น เปิดทีวีมาหน้าแรกเลย ไม่ต้องเข้าเมนูใดๆ ทีวีจะนำเสนอคลิปจาก YouTube ที่ตรงกับที่คุณน่าจะสนใจ ด้วยการแนะนำคลิปที่ตรงกับความสนใจของ “คนไทย” อย่างในภาพด้านล่าง กำลังแนะนำคลิปโตโน่เลยอย่างอัตโนมัติ และเมื่อ Sign-in เรียบร้อยแล้ว จะแนะนำจากฐานข้อมูลที่เราสนใจ

sony-android-tv-review-thai-4
ตั้งแต่หน้าแรกก็มีคลิปอัปเดตเองอัตโนมัติมาคอยแนะนำ โดยที่ไม่ต้องเข้าเมนูอะไรเลย

YouTube นั้นเป็นบริษัทลูกของ Google ดังนั้นการใช้ Android TV จะทำให้ได้ใช้ YouTube บนทีวีจากซอฟแวร์ของเจ้าของ YouTube ตัวจริง ออกแบบมาได้สมบูรณ์และใช้งานง่าย  มีระบบแนะนำคลิปที่น่าสนใจ สามารถต่อเชื่อมกับ Google Account เพื่อ sync ข้อมูลคลิปที่เคยดู หรือ channels ที่ได้ subscribe ไว้ แต่ทาง Google ก็ตัดเมนูฟังก์ชันหลายอย่างออก เพื่อได้ใช้งานให้ง่ายขึ้นเช่น ไม่สามารถ Like ได้ หรืออ่านคอมเม้นต์ไม่ได้

sony-android-tv-review-thai-youtube

Google Play ศูนย์รวมแอปและเกมนับล้านที่สามารถโหลดมาลงเครื่องได้จากปลายรีโมต จากสถิติล่าสุดปี 2015 พบว่า Google Play มีแอปมากกว่า App Store ค่าย Apple เรียบร้อยแล้ว

sony-android-tv-review-thai-8sony-android-tv-review-thai-9

ควบคุมทีวีด้วย App ผ่าน Mobile สำหรับ Sony Android TV นี้มี app สำหรับควบคุม ทำตัวเป็นเหมือน remote แบบ touchpad ด้วยแต่ว่าทำงานได้มากกว่า ใช้เป็นเม้าส์ก็ได้ ถึงเป็น TV Android แต่ไม่ได้มี app ที่ลงมือถือ Android เท่านั้น ยังมี app สำหรับ iOS คือฝั่ง iPhone, iPad ด้วย สามารถทำงานได้หลากหลาย เช่น ใช้เสิร์ชด้วยเสียง, ใช้คีบอร์ดพิมพ์บนมือถือแต่ไปขึ้นบนจอทีวี, เรียก app ของทีวีจากบนมือถือ ฯลฯ

sony-android-tv-review-thai-10
ถึงแม้จะเป็น Android TV แต่ทำงานร่วมกับมือถือฝั่ง iPhone ได้อย่างสมบูรณ์แบบ

การเสิร์ชด้วยเสียง ไม่ได้ใช้งานเหมาะสำหรับคนรุ่นใหม่เท่านั้น เพราะการค้นหาคลิปต่างๆในอินเทอร์เน็ต สามารถทำได้เพียงแค่ “ออกเสียงภาษาไทย” อันนี้สมบูรณ์มากที่สุดในโลกตอนนี้ เมื่อเทียบกับการรับฟังภาษาไทยฝั่ง iOS ที่มี SIRI เป็นผู้รับฟัง หลายครั้งยังฟังภาษาไทยผสมภาษาอังกฤษได้ไม่ดีสู้ฝั่ง Android เช่นการเสิร์ชคำว่า “หนัง Avengers” ฝั่ง Android TV ทำออกมาได้ดีมาก สามารถรู้ว่าคำไหนไทย คำไหนอังกฤษ แน่นอนว่าไม่ถูก 100% แต่การพูดให้ชัดและช้าลงเพื่อเน้นคำ จะช่วยให้พิมพ์ถูกได้เกือบทุกคำ

sony-android-tv-review-thai-11
ลองแล้วก็ใช้งานได้ดี

Google Cast ถ้าทุกคนในบ้านตอนนี้มีมือถือกันคนละเครื่อง Google Cast ฟังชันนี้จะช่วยทำงานให้คุณส่งภาพวิดีโอจากมือถือ หรือคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการเซ็ตค่าไว้ขึ้นทีวีได้ เช่น คุณสามารถค้นหา YouTube จากบนมือถือ แต่พอเล่นก็สั่งให้ไปเล่นที่จอทีวีแทนได้

sony-android-tv-review-thai-12
สามารถส่งภาพจากมือถือ iPhone/Android Mobile ขึ้นจอได้ง่ายๆเลย

Android TV vs Smart TV

Android TV จัดเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับทีวีที่ฉลาดที่สุด ณ วันนี้เนื่องจากพัฒนาระบบมาจาก Google ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านซอฟแวร์มากกว่าค่าย TV แต่ละแบรนด์ ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีคลังแอปอย่าง Play Store ที่จะทำให้สามารถเข้าถึง apps มากมายบนระบบ Android TV ซึ่งแน่นอนว่าทุกแอปพลิเคชันสามารถใช้งานได้ 100% บนทีวี และในอนาคต Android TV จะมี apps ที่รองรับมากกว่าระบบ Smart TV มากจนคุณใช้ไม่ครบ เมื่อเทียบกับ Smart TV ที่ผู้ผลิตทีวีจำเป็นต้องทำแอปให้ตามคู่แข่งเท่านั้น อย่างมากก็แค่หลักร้อย ไม่เหมือน Google ที่ออกแบบธุรกิจแอปไว้ได้ดี ให้ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันสามารถส่งแอปเข้าสู่ Store ได้อย่างอิสระ จนมีแอปเพิ่มขึ้นมากขึ้นทุกวันดังเช่น Android บนระบบสมาร์ทโฟนที่มีแอปมากกว่าล้านแล้วในวันนี้

แอปนี่รวมถึงเกม ทั้งที่ฟรีและแบบเสียเงิน, และระบบอื่นๆที่เป็น Entertainment Center เช่น การเช่าหนัง Full HD ผ่านระบบของ Google ออนไลน์ การรองรับ YouTube 4K ที่เริ่มมีวีดีโอเยอะขึ้นเรื่อยๆ จุดแข็งเหล่านี้ ที่มาพร้อมกับคุณภาพภาพและเสียงระดับทีวี Sony Bravia เป็นแบรนด์ที่ติดอยู่ในใจผู้ใช้งานมาจนถึงทุกวันนี้

ปล. ดูละครและคลิปบน YouTube เพลินมาก รู้สึกดีจริงๆ

sony-android-tv-review-thai-3 sony-android-tv-review-thai-13

ภาพจากเว็บไซต์ Sony Thailand
ภาพจากเว็บไซต์ Sony Thailand

รีวิว Sony Android TV : ทีวีสุดไฮเทคใส่สมองจาก Google ใส่หัวใจโดย Sony 14 - Android
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ Sony Thailand

เว็บเราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ท่านได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถเลือกอนุญาตคุกกี้เองได้ที่ ตั้งค่าคุกกี้

Privacy Preferences

เมื่อท่านเข้าชมเว็บไซต์ของเรา อาจมีการจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของท่านในรูปแบบของคุกกี้ ข้อมูลนี้อาจเป็นข้อมูลเกี่ยวกับท่าน การตั้งค่าของท่าน อุปกรณ์ของท่าน ซึ่งจะถูกใช้เพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้ตามที่ท่านต้องการ ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่ได้ระบุตัวตนของท่านโดยตรง แต่ช่วยให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์แบบเฉพาะสำหรับท่านได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เราเคารพในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน โดยท่านสามารถเลือกปฏิเสธไม่ยอมรับให้คุกกี้บางประเภททำงานได้ ซึ่งท่านสามารถคลิกที่หัวข้อแต่ละประเภท เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนการตั้งค่าได้ อย่างไรก็ตาม การเลือกปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจส่งผลกระทบต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการที่เราเสนอให้แก่ท่านได้ ข้อมูลเพิ่มเติม

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จําเป็นสําหรับการทํางานของเว็บไซต์ (Strictly necessary cookies)
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่ทำให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้งานในเว็บไซต์ของเราได้อย่างปลอดภัย ส่วนนี้จะไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้ที่ช่วยในการใช้งาน (Functional Cookies)

    เราใช้ Cookies ประเภทนี้เพื่อช่วยจดจำอุปกรณ์หรือบราวเซอร์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถจัดทำเนื้อหาได้อย่างเหมาะสมกับความสนใจส่วนบุคคลของท่านได้รวดเร็วขึ้น และช่วยให้การบริการและแพลตฟอร์มได้อย่างสะดวกสบายและเป็นประโยชน์ต่อท่านมากยิ่งขึ้น

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เชิงสถิติ (Analytics Cookies)

    เราใช้ Analytics Cookies ที่ให้บริการโดย Google ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับรูปแบบการใช้งานของท่านบนเว็บไซต์ของเรา โดยข้อมูลนี้ประกอบไปด้วย หน้าเว็บไซต์ที่ท่านเข้าชม ลิงค์ที่ท่านคลิก ระยะเวลาที่ท่านเข้าชมในแต่ละหน้า โดยเราใช้ข้อมูลนี้เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการใช้งานของผู้ใช้ และเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    เราใช้คุกกี้ประเภทนี้จดจำการตั้งค่าของท่านในการเข้าใช้งานหน้าเว็บไซต์ หน้าเว็บที่ท่านได้เยี่ยมชม และลิงค์ที่ท่านเยี่ยมชม เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเข้าชมและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์และยังปรับปรุงเว็บไซต์ รวมทั้งเนื้อหาใดๆ ซึ่งปรากฏอยู่บนหน้าเว็บให้ตรงกับความสนใจของท่านมากยิ่งขึ้น และทดสอบความมีประสิทธิภาพของโฆษณาเรา และนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุดเท่าที่จำเป็น นอกจากนี้ เรายังอาจแชร์ข้อมูลนี้ให้กับบุคคลที่สามเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว
    Cookies Details

บันทึกการตั้งค่า