รู้จักนิสัยและวิธีเลี้ยง Exotic Pet เลี้ยงอย่างไรให้สัตว์แฮปปี้ 13 - Exotic Pet

รู้จักนิสัยและวิธีเลี้ยง Exotic Pet เลี้ยงอย่างไรให้สัตว์แฮปปี้

Exotic Pet หรือสัตว์พิเศษเป็นกลุ่มสัตว์เลี้ยงที่เหล่าคนรักสัตว์ทั้งในไทยและต่างประเทศเริ่มเลี้ยงดูกันอย่างแพร่หลาย แต่รู้หรือไม่ว่าสัตว์กลุ่มใดบ้างที่เป็น Exotic Petวันนี้มีคำตอบ โดยทาง น.สพ. ปิยวุฒิ ศิริธรรมวิไล สัตวแพทย์ประจำคลินิกอายุรกรรมและสัตว์เลี้ยงพิเศษ โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ ได้ให้คำนิยาม ความรู้ในการแบ่งประเภทสัตว์เลี้ยงออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มสัตว์เลี้ยงทั่วไป อย่าง สุนัขหรือแมว ส่วนกลุ่มที่สองก็คือกลุ่มสัตว์เลี้ยงพิเศษ หรือ Exotic Pet เป็นกลุ่มสัตว์เลี้ยงที่นอกเหนือจากสุนัขและแมวนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่มาจากต่างถิ่นแต่ถูกนำมาเลี้ยงดูอยู่ร่วมกับคน อาทิ กระต่าย กระรอก เต่า งู ปลา ชูการ์ไกลเดอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายประเภททั้ง สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์น้ำ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นต้น เรามักจะเห็นได้จากหลาย ๆ ครอบครัวในไทย ที่นิยมเลี้ยงสัตว์พิเศษเหล่านี้ หรือแม้กระทั่งตามงานแสดงสัตว์เลี้ยงที่มีการนำสัตว์ Exotic Pet มาโชว์ความน่ารัก ทำให้มีกลุ่มคนรักสัตว์พิเศษให้ความสนใจอยากเลี้ยงไม่น้อยเลยทีเดียว

รู้จักนิสัยและวิธีเลี้ยง Exotic Pet เลี้ยงอย่างไรให้สัตว์แฮปปี้ 14 - Exotic Pet

น.สพ. ปิยวุฒิ ได้ให้ความรู้และเล่าถึงวิธีการเลี้ยงสัตว์พิเศษว่า “ผู้เลี้ยงจะต้องศึกษาทำความเข้าใจ และรู้จักนิสัยของสัตว์เลี้ยงเป็นอย่างดีก่อนนำมาเลี้ยง ทั้งการเป็นอยู่ ภูมิอากาศที่เหมาะสม พฤติกรรมทางธรรมชาติของสัตว์ประเภทนั้น การกินอาหาร ยกตัวอย่างเช่น การเลี้ยงงู ก่อนอื่นต้องรู้จักงูว่าเป็นงูประเภทไหน ชอบกินอาหารยังไง อยู่ในความชื้นหรือความร้อนเท่าไหร่ เพราะงูมาจากทั่วโลก ซึ่งงูบางชนิดมาจากทะเลทราย หรือมาจากเขตหนาว ดังนั้นจึงควรจัดตู้ที่อยู่ให้เหมาะสมด้วยการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ให้เป็นแบบที่เขาเคยอยู่ เพราะโอกาสป่วยของงูมีน้อยมาก ดังนั้นการป่วยที่เกิดขึ้นมักมาจากสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดอาการติดเชื้อทางเดินหายใจ หรือปากเน่าจากการติดเชื้อในสิ่งแวดล้อมที่ไม่สะอาด งูก็จะอ่อนแอลง หรือเกิดอาการเครียดได้”

รู้จักนิสัยและวิธีเลี้ยง Exotic Pet เลี้ยงอย่างไรให้สัตว์แฮปปี้ 15 - Exotic Pet

การเจ็บป่วยของสัตว์เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะแม้แต่คนเราเองก็ยังเจ็บไข้ได้ป่วย แต่เมื่อไม่ใช่สัตว์เลี้ยงทั่วไปอย่างหมาหรือแมว วิธีการสังเกตอาการต่าง ๆ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสัตว์ของเราป่วยหรือไม่ หรือพฤติกรรมแบบไหนที่ผิดปกติจากเดิม

รู้จักนิสัยและวิธีเลี้ยง Exotic Pet เลี้ยงอย่างไรให้สัตว์แฮปปี้ 16 - Exotic Pet

นายสัตวแพทย์ได้เล่าต่อว่า “การสังเกตอาการเจ็บป่วยของสัตว์ชนิดพิเศษอย่างเช่นกลุ่มสัตว์พิเศษที่เป็นประเภทสัตว์เลื้อยคลาน เมื่อมีการเจ็บป่วย อาการจะแสดงออกทางผิว ไม่ใช่แค่งู แต่รวมถึงปลา กิ้งก่า ถ้ามีความเครียดจะสังเกตได้จากสี อาจจะเป็นสีหม่น หรือสีเข้มขึ้น ดูไม่สดใส สัตว์เลือดเย็นเมื่อเกิดความเครียดจะเปลี่ยนสี หรือกินอาหารน้อยลง ปากเจ็บ น้ำลายยืด เป็นต้น”

ปัจจุบันการแพทย์ และรักษาพยาบาลของสัตว์พิเศษจะต้องอาศัยสัตวแพทย์เฉพาะทาง ทั้งนี้โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ เป็นหนึ่งสถานพยาบาลที่ให้บริการด้านการรักษากลุ่มสัตว์พิเศษ Exotic Pet อย่างครอบคลุม โดยส่วนใหญ่รักษาได้ทั้งสัตว์ปีก สัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ซึ่งก็จะมีสัตวแพทย์เฉพาะทางที่ศึกษาในเรื่องของกลุ่มสัตว์พิเศษเป็นผู้ดูแล

 “การรักษาพยาบาลของสัตว์พิเศษจะต่างกับสัตว์เลี้ยงสุนัขและแมว โดยแยกเป็นกลุ่มสัตว์ฟันแทะไว้ในประเภทเดียวกัน การรักษา การให้ยาก็จะคล้าย ๆ กัน เพราะเป็นสัตว์กินพืชเหมือนกัน ส่วนสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีกจะแยกกัน ถ้าสัตว์เลื้อยคลาน งู เต่า กิ้งก่า จะมีวิธีคิดและวิธีรักษาที่แตกต่างออกมา เนื่องจากเป็นสัตว์เลือดเย็น ต้องมีการตากแดด รับแสงรังสียูวี ต้องได้รับความร้อน แล้วในกลุ่มสัตว์เลื้อยคลานก็จะแยกย่อยเป็นกลุ่มกินพืชและกินเนื้อ เช่น เต่ากินพืช เต่ากินเนื้อ กลุ่มสัตว์ปีกอย่างเช่น นก ยาบางชนิดไม่สามารถใช้กับนกทุกตัวได้ การรักษาขึ้นอยู่กับสปีชีส์ของสัตว์นั้น ๆ ด้วย” คำบอกเล่าของนายสัตวแพทย์

รู้จักนิสัยและวิธีเลี้ยง Exotic Pet เลี้ยงอย่างไรให้สัตว์แฮปปี้ 17 - Exotic Pet

การเลี้ยงสัตว์พิเศษ Exotic Pet ต้องขอใบอนุญาตไหม? ยังคงเป็นคำถามที่ต้องตระหนักถึงความถูกต้องทางกฎหมายก่อนจะเลี้ยงสัตว์พิเศษ Exotic Pet ซึ่งนายสัตวแพทย์ก็ได้ให้ความรู้ระหว่างกฎหมายและสัตว์พิเศษว่า

“ปัจจุบันสัตว์พิเศษบางชนิดไม่ต้องขออนุญาตในการครอบครอง แต่บางชนิดยังต้องมีการขออนุญาต ด้วยพรบ.ตัวใหม่ออกมา สำหรับสัตว์บางชนิดที่เคยอนุญาตให้เลี้ยงได้ แต่ปัจจุบันติดไซเตส(CITES) หรืออนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น เต่าดาวอินเดีย ที่คนไทยเพาะพันธุ์ได้จำนวนมากแล้ว แต่ในทางธรรมชาติใกล้สูญพันธุ์ ทำให้ปัจจุบันไม่สามารถเลี้ยงได้ เนื่องจากพอใกล้สูญพันธุ์จึงต้องเลื่อนระดับไซเตสอยู่ระดับสูง คนครอบครองจะผิดกฎหมาย ส่วนคนที่มีอยู่แล้วจะต้องไปจดทะเบียนไว้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบกับกรมป่าไม้ หรือกรมคุ้มครองสัตว์ป่า กรณีสัตว์ป่าที่ขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในไทย อย่างแมวดาว แมวลายหินอ่อน จะผิดกฎหมาย แต่กรณีเป็นกลุ่มสัตว์ป่าที่ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศสามารถเลี้ยงได้ หากมีใบอนุญาตเพาะพันธุ์มาด้วย ก็ถือว่าไม่ผิดกฎหมาย”

รู้จักนิสัยและวิธีเลี้ยง Exotic Pet เลี้ยงอย่างไรให้สัตว์แฮปปี้ 18 - Exotic Pet

อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงสัตว์พิเศษ Exotic Pet นอกจากจะต้องรู้จักสัตว์เป็นอย่างดีแล้ว ความพร้อมในการเลี้ยงดูแล ทั้งเรื่องของอาหารการกิน ที่อยู่อาศัย การรักษาพยาบาล เป็นสิ่งที่ผู้เลี้ยงจะต้องคำนึงถึงความสำคัญของสิ่งเหล่านี้ และสำหรับใครที่สนใจเลี้ยงสัตว์พิเศษ Exotic Pet สามารถปรึกษา หรือขอคำแนะนำจากทางโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อได้ฟรีภายในงาน

Pet Expo Thailand 2020
21 – 24 พฤษภาคม 2563
ตั้งแต่เวลา 10.00 – 20.00 น.
ณ ฮอลล์ 105-106 ไบเทค บางนา

พร้อมกิจกรรมการตรวจสุขภาพสัตว์เลี้ยง ฟรี ! นอกจากนี้ยังมีสินค้าและบริการ พร้อมกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของสัตว์เลี้ยง และผู้รักสัตว์เลี้ยง รวมกว่า 300 ร้าน อาทิ ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ เวชภัณฑ์ แชมพู รีสอร์ทและโรงแรมที่รับสัตว์เลี้ยง คลีนิคสัตว์ มูลนิธิช่วยเหลือสัตว์ อุปกรณ์สัตว์เลี้ยง เสื้อผ้าและเครื่องประดับ

เว็บเราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ท่านได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถเลือกอนุญาตคุกกี้เองได้ที่ ตั้งค่าคุกกี้

Privacy Preferences

เมื่อท่านเข้าชมเว็บไซต์ของเรา อาจมีการจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของท่านในรูปแบบของคุกกี้ ข้อมูลนี้อาจเป็นข้อมูลเกี่ยวกับท่าน การตั้งค่าของท่าน อุปกรณ์ของท่าน ซึ่งจะถูกใช้เพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้ตามที่ท่านต้องการ ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่ได้ระบุตัวตนของท่านโดยตรง แต่ช่วยให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์แบบเฉพาะสำหรับท่านได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เราเคารพในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน โดยท่านสามารถเลือกปฏิเสธไม่ยอมรับให้คุกกี้บางประเภททำงานได้ ซึ่งท่านสามารถคลิกที่หัวข้อแต่ละประเภท เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนการตั้งค่าได้ อย่างไรก็ตาม การเลือกปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจส่งผลกระทบต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการที่เราเสนอให้แก่ท่านได้ ข้อมูลเพิ่มเติม

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จําเป็นสําหรับการทํางานของเว็บไซต์ (Strictly necessary cookies)
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่ทำให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้งานในเว็บไซต์ของเราได้อย่างปลอดภัย ส่วนนี้จะไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้ที่ช่วยในการใช้งาน (Functional Cookies)

    เราใช้ Cookies ประเภทนี้เพื่อช่วยจดจำอุปกรณ์หรือบราวเซอร์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถจัดทำเนื้อหาได้อย่างเหมาะสมกับความสนใจส่วนบุคคลของท่านได้รวดเร็วขึ้น และช่วยให้การบริการและแพลตฟอร์มได้อย่างสะดวกสบายและเป็นประโยชน์ต่อท่านมากยิ่งขึ้น

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เชิงสถิติ (Analytics Cookies)

    เราใช้ Analytics Cookies ที่ให้บริการโดย Google ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับรูปแบบการใช้งานของท่านบนเว็บไซต์ของเรา โดยข้อมูลนี้ประกอบไปด้วย หน้าเว็บไซต์ที่ท่านเข้าชม ลิงค์ที่ท่านคลิก ระยะเวลาที่ท่านเข้าชมในแต่ละหน้า โดยเราใช้ข้อมูลนี้เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการใช้งานของผู้ใช้ และเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    เราใช้คุกกี้ประเภทนี้จดจำการตั้งค่าของท่านในการเข้าใช้งานหน้าเว็บไซต์ หน้าเว็บที่ท่านได้เยี่ยมชม และลิงค์ที่ท่านเยี่ยมชม เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเข้าชมและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์และยังปรับปรุงเว็บไซต์ รวมทั้งเนื้อหาใดๆ ซึ่งปรากฏอยู่บนหน้าเว็บให้ตรงกับความสนใจของท่านมากยิ่งขึ้น และทดสอบความมีประสิทธิภาพของโฆษณาเรา และนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุดเท่าที่จำเป็น นอกจากนี้ เรายังอาจแชร์ข้อมูลนี้ให้กับบุคคลที่สามเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว
    Cookies Details

บันทึกการตั้งค่า