10 ข้อดีเมื่อติดเน็ตบ้านแบบ Fiber Optic ที่ทุกคนไม่ควรพลาด 13 - 100 Share+

10 ข้อดีเมื่อติดเน็ตบ้านแบบ Fiber Optic ที่ทุกคนไม่ควรพลาด

หลายคนคงเคยได้ยินชื่อกันมาบ้างแล้ว ที่เรียกกันว่า “เน็ตไฟเบอร์” ไม่ได้หมายถึงกากใยอาหารนะครับ แต่หมายถึงอินเทอร์เน็ตแบบ Fiber Optic หรือที่เมื่อก่อนเรียกกันบ่อยๆ ว่าใยแก้วนำแสง Fiber Optic จัดเป็นอินเทอร์เน็ตบ้านเทคโนโลยีล่าสุดในวันนี้ จากเดิม 5 ปีที่แล้วผู้ใช้ Fiber Optic ก็มักจะมีแต่ธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ต้องการความเสถียรของอินเทอร์เน็ตที่แน่นอน และราคาสมัยก่อนก็เป็นระดับเดือนละหลักหมื่น ซึ่งยากที่ผู้ใช้งานตามบ้านจะได้คิดใช้งาน แต่ปัจจุบันมีผู้ให้บริการทำโปรโมชั่นมาในราคาบ้านๆ จัดราคาโปรโมชั่น Fiber Optic เทียบอินเทอร์เน็ตแบบ ADSL แล้ว เลยอยากพาทุกคนไปดูก่อนเปลี่ยนว่ามันคุ้มไหม มีข้อดีอะไรบ้าง ลองไปชมกันเลยครับ

1. Fiber Optic ใช้สายเคเบิลใหม่กว่า

ดูเหมือนไร้สาระ แต่เดี๋ยวก่อนครับ ลองออกนอกบ้านแล้วเงยหน้าดูสายไฟที่เสาไฟฟ้าหน้าบ้านเรา เมืองไทยของเราเดินสายโทรศัพท์และสายไฟฟ้าอยู่บนเสาไฟฟ้า ตาแดด ตาก-ลม สู้กระรอกแทะ แถมบางที่พันกันกับสายไฟฟ้ากลมเกลียวแบบสามัคคี บางวันก็หม้อแปลงระเบิด บางครั้งระเบิดเสร็จก็สายไฟไหม้ครับ!! ถ้าสายไฟไหม้ไหม้จนละลายขาดนี่คือว่าโชคดี เพราะต้องมีคนเข้าเน็ตไม่ได้โทรแจ้งให้เขาก็มาเปลี่ยนสายใหม่ให้ แต่ถ้าละลายค้างๆคาๆ แต่ไม่ขาด มันก็จะใช้งานต่อไปเรื่อยๆตลอดชั่วกาลนาน… พูดเหมือนนิยาย นี่เรื่องที่ผมเจอกับตัวในกรุงเทพเลยครับ เป็นเรื่องใกล้ตัวล้วนๆ ต่างจากบางประเทศที่เดินสายโทรศัพท์ลองท่อใต้ดินและได้รับการดูแลอย่างดี ซึ่งการที่สายชำรุดหรือเสื่อมสภาพระหว่างทางแบบไทยๆนี้ มีผลต่อคุณภาพของอินเทอร์เน็ตในการใช้งานหลายจังหวะ สังเกตได้ง่ายๆว่า ช่วงไหนฝนตก ช่วงนั้นเน็ตเน่า ใครไม่เป็นก็โชคดีไปครับข้อนี้

2. Fiber Optic สปีดเร็วกว่า

ข้อนี้ไม่ได้หมายถึงเร็วกว่าในแง่ “แพงกว่าก็เร็วกว่าสิ” ข้อนั้นตัดไปได้เลย เพราะปัจจุบัน Fiber Optic กับ ADSL นี้ราคาบริการต่อเดือนใกล้กันแล้ว (พูดตามจริง ที่ความเร็วสูงๆ แบบ 20Mbps ขึ้นไป Fiber Optic นั้นมีแนวโน้มค่าบริการถูกกว่า ADSL ด้วย) แต่ตอนนี้เราพูดถึงเร็วกว่าในแง่ของตัวนำสัญญานครับ อินเทอร์เน็ตแบบ ADSL ในระยะสายไม่เกิน 1 กิโลเมตรทำความเร็วได้ไม่เกิน 25Mbps เท่านั้นเอง ในหลายบ้านบอกว่า ชั้นมีตังค์จ่าย แต่ขอเน็ตเร็วกว่านี้ได้มั้ย? สำหรับเทคโนโลยีเดิมอาจทำไม่ได้ แต่กับ Fiber Optic ทำได้ครับ สามารถเร็วได้ถึง 100-200Mbps ก็มีให้บริการแล้วตอนนี้

3. Fiber Optic ลื่นกว่า

ภาษาเทคนิคเรียกว่า response time เร็วกว่า ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “ลื่นกว่า” นั่นแหละครับ เทคโนโลยีเดิมใช้สายทองแดงเป็นสื่อนำอินเทอร์เน็ตผ่านทางไฟฟ้า แต่ด้วย Fiber Optic นั้นใช้สายแก้วเป็นสื่อนำอินเทอร์เน็ตด้วยแสง ทำไมถึงลื่นกว่าต้องอ้างเหตุผลทางวิทยาศาสตร์กันยาว ว่าทำไม “แสง” ถึงเดินทางเร็วกว่า “ไฟฟ้า” แต่จากการทดลองหลายคนบอกว่า Fiber Optic นั้นลื่นกว่าเดิมถึง 50%-70% ความลื่นที่สัมผัสได้แบบคลิ้กก็มา คนได้ประโยชน์มากที่สุดน่าจะเป็นสายเล่นเกมออนไลน์ครับ แค่เสี้ยววิที่หน่วงโต้ตอบกับ server ในเกมก็แพ้เพื่อนแล้ว

4. Fiber Optic ไม่มีสัญญานไฟฟ้ารบกวน

ระบบอินเทอร์เน็ตแบบเดิมใช้สายนำสัญญานที่เป็นโลหะ(ทองแดง)และสัญญานที่เป็นไฟฟ้า กลับกลายเป็นปัญหาด้วยตัวมันเอง สายไฟที่ลากบนเสาไฟฟ้าอาจจะโดนรบกวนโดยสัญญานไฟฟ้าแรงสูงที่อยู่ในสายไฟที่พันๆกันอยู่บนเสาไฟฟ้า หรือแม้แต่ไฟในบ้านในออฟฟิศของเราเองรบกวนจนเกิด Noise ได้ ผลก็คือ คลื่นอินเทอร์เน็ต ADSL บางครั้งโดยรบกวนการทำงาน บังเอิญว่าตอนช่างมาติดตั้งให้สัญญานรบกวนอาจจะไม่มี แต่พอใช้งานไปอาจจะโดนไฟฟ้าแรงสูงรบกวนตอนไหนนี่ก็บอกไม่ได้ ปัญหาแบบนี้สามารถตัดได้ด้วยการใช้สัญญานแสงของ Fiber Optic ไปเลย จบ สัญญานคนละชาติพันธุ์กัน ไม่รบกวนกัน

5. รองรับลูกค่ายได้เยอะ ขยายโครงข่ายได้ไกล

เทียบกับ ADSL หลายคนอาจเจอปัญหาขอติดตั้งไปแต่คู่สายเต็ม (โหนดเต็มบ้าง มาไม่ถึงบ้าง) ไม่สามารถติดตั้งได้ หรือบ้านมาไกลจากจุดติดตั้งเกินไป ปัญหาจากการเดินเน็ตเวิร์ค ADSL นั้นมีหลายอย่างแต่ Fiber Optic เป็นเทคโนโลยีที่มาตอบโจทย์ฝั่งผู้ให้บริการที่เราก็ได้ประโยชน์ด้วย เพราะ Fiber Optic สามารถยิงสัญญานไปได้ระยะทางไกลมากกว่า ทำให้อนาคตอินเทอร์เน็ตมีแนวโน้มค่าใช้จ่ายถูกลงเพราะค่าเดินสายถูกกว่า ADSL, จุดจั้มป์สัญญาน Fiber Optic มีขนาดเล็กกว่า ทำให้ค่าเช่าพื้นที่วางโหนดนั้นก็ถูกกว่า ADSL แถมข้อเสียของ ADSL คือต้องใช้ไฟฟ้าในการถีบตัวสัญญานไปต่อที่สูงกว่า และ Fiber Optic สามารถทำสัญญานความเร็วสูงๆได้ ทำให้รองรับการทำโปรโมชั่นเน็ตเร็วๆ ในอนาคตมากขึ้นไปอีก

6. Fiber Optic ทำโปร Upload ได้เยอะกว่า

ในยุค YouTube บางบ้านอาจลองอัพโหลดวิดีโอแล้ว อาจเคยเบื่อที่ต้องรอนาน หลายคนอาจจะคิดตั้งแต่ยุคเล่น ADSL นะว่าทำไมผู้ให้บริการถึงให้ค่า Upload ที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดินอย่างนี้ ทำไมกั้กอัพโหลดมาก อันที่จริงส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะลิมิตของเทคโนโลยี แต่พอมาเป็น Fiber Optic แล้ว อัพโหลดที่ต่ำกว่า 1Mbps ก็ไม่มีให้เห็น โปรโมชั่นก็กระโดดขึ้นไปถึง Upload 50Mbps เลยก็มี สำหรับคนที่บ้านหรือออฟฟิศต้องติดตั้งกล้อง CCTV แล้วใช้มือถือถึงภาพขึ้นมาดูจากนอกสถานที่ ค่าอัพโหลดยิ่งสูง ก็ดูกล้องด้วยภาพที่คมชัดมากขึ้นได้อีก (ปล.กล้องบางรุ่นต้องใช้ IP Fix ดูโปรอย่าลืมดูตรงนี้ด้วยนะครับ) ทำให้กลายเป็นยุคที่กล้องมอนิเตอร์เด็ก ดูแลคนแก่ และดูแลบ้านจะเริ่มเฟื่องฟู

7. Fiber Optic ข้อมูลปลอดภัยมากกว่า

ข้อนี้แม้โอกาสจะน้อย แต่บางบริษัทที่ข้อมูลสำคัญมากๆ หากมีความต้องการจากผู้ไม่หวังดี อาจเสี่ยงโดนแฮคได้ด้วยการแตะสายอินเทอร์เน็ต (แบบไม่ต้องเชื่อมต่อ) เพราะสายอินเทอร์เน็ตแบบที่ส่งสัญญานด้วยไฟฟ้าจะมีการเปล่ง “รังสีไฟฟ้าออกมานอกสาย” มากและน้อยขึ้นอยู่กับฉนวนหุ้มสายที่สามารถป้องกันการกระจายตัวของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แม้จะน้อยแต่ในบางเคสก็มากพอที่จะใช้ในการแฮคข้อมูล การเปลี่ยนมาใช้อินเทอร์เน็ตแบบเคเบิลช่วยแก้เรื่องนี้ได้ดีขึ้นด้วยฉนวนที่หนาขึ้นของสาย coaxial แต่ถ้าเป็นใยแก้วนำแสง ก็จะตัดเรื่องการรังสีที่แผ่ออกมานอกสายสัญญานได้เลย ปลอดภัยสุด

8. Fiber Optic รับ Bandwidth ได้เยอะกว่า เชื่อมต่ออุปกรณ์ได้เยอะกว่า

ปัจจุบันเราไม่ได้ต่ออินเทอร์เน็ตแค่คอมพิวเตอร์แล้ว เรามีทั้งมือถือ, แท็บเล็ต, ทีวี, กล้อง, นาฬิกา และอุปกรณ์ไอทีอื่นๆ อีกมากที่ต้องใช้อินเทอร์เน็ตตลอดเวลาถึงเราไม่ได้ใช้งาน แม้เน็ตเดิมจะมาถึงบ้านได้เช่นกัน แต่ด้วยศักยภาพของสายสัญญานเมื่อส่งไประยะทางไกลมีผลต่อช่อง bandwidth ของสัญญานรวม (เปรียบเหมือนถนนมีเลนส์กว้างกว่า) ทำให้หนึ่งสายสัญญานที่ถึงจะได้ download speed ตามโปรโมชั่นเท่ากัน แต่รองรับอุปกรณ์ได้พร้อมกันจำนวนไม่เท่ากัน เปรียบเสมือนท่อน้ำ ถึงน้ำแรงเท่ากัน แต่ท่อใหญ่กว่า ความเสถียรของสัญญานเมื่อเรียกใช้พร้อมๆกันของ Fiber Optic ย่อมมีมากกว่า

9. Fiber Optic คนใช้ยังไม่เยอะ

ข้อนี้จัดเป็นการ “ลักไก่” ของการเลือกอินเทอร์เน็ตไว้ใช้งาน ต้องเข้าใจระบบอินเทอร์เน็ตก่อนว่าผู้ให้บริการแต่ละเจ้าสั่งซื้อสัมปทานช่องสัญญานมากำใหญ่ทีละมากๆ แล้วมาแบ่งให้ลูกค้าอย่างพวกเราเช่าใช้กัน แม้ลูกค้าจะไม่ได้ใช้ช่วงเวลาเดียวกันตลอดหรอก แต่อินเทอร์เน็ตก็มีช่วงเวลานิยมที่คนส่วนใหญ่ใช้พร้อมกันอยู่ ซึ่งถ้าผู้ให้บริการเจ้านั้นมีลูกค้ามากย่อมเกิดอาการหน่วงขึ้นในช่วงเวลานั้น สำหรับ Fiber Optic จัดเป็นเทคโนโลยีที่มาใหม่ที่สุด จึงต้องยอมรับว่ายังมีคนรับรู้และเปลี่ยนไปใช้งานจำนวนน้อยกว่าเทคโนโลยีเดิมแน่นอน เมื่อคนแบ่งใช้น้อยๆ ความรู้สึกก็เหมือนขับรถในกรุงเทพช่วงสงกรานต์ที่ทุกคนหนีไปเที่ยวต่างจังหวัดนั่นแหละ กว่าจะมีคนใช้เยอะเท่า ADSL คงใช้เวลาอีกไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ถึงวันนึงที่มีคนใช้เยอะแล้ว ให้ย้อนกลับไปดูข้อดีในข้อ 8 นะครับ

10. Fiber Optic เจ้าที่ Gateway ออกต่างประเทศใหญ่ที่สุด

จริงอยู่ที่อินเทอร์เน็ต Fiber Optic วันนี้มีผู้ให้บริการหลายรายแล้ว แต่ถ้าหากคุณเป็นคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อออกต่างประเทศเป็นประจำ เช่น Facebook, Google, YouTube, Gmail, Live Mail (hotmail), Server เกมออนไลน์ official ค่ายดังต่างๆ หรือเว็บที่เป็นของต่างชาติ พวกนี้เกือบ 99% ไม่มี server ตั้งอยู่ในประเทศไทย ดังนั้นอินเทอร์เน็ตต้องวิ่งออกนอกประเทศ หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า “ช่องสัญญานออกต่างประเทศ” ของผู้ให้บริการแต่ละเจ้านั้นมีจำกัด และมีราคาแพงกว่าช่องในประเทศด้วย แต่ละเจ้าจึงมีช่องสัญญานที่ซื้อมัดกำมาจำนวนไม่เท่ากัน

ซึ่งถ้าหากคุณเป็นคนที่ใช้อินเทอร์เน็ตออกต่างประเทศเป็นประจำ ข้อ 10 นี้ถือเป็นของแถมของผู้ให้บริการที่เป็นผู้สนับสนุนการให้ข้อมูลโพสนี้ ซึ่งนั่นก็คือ CAT Telecom หรือรู้จักในชื่อองค์กรใหญ่ว่า “การสื่อสารแห่งประเทศไทย” ซึ่งเป็นผู้ถือช่องสัญญานออกต่างประเทศใหญ่ที่สุดในไทย วันนี้ CAT มาทำอินเทอร์เน็ต Fiber Optic ขายปลีกแล้ว แต่ไม่ต้องกลัวว่าราคาจะแพงแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่นๆ เพราะมาในราคาระดับที่ลงมาแข่งขันกันเพื่อผู้บริโภคในแบรนด์ใหม่จำง่ายๆ ว่า “C internet”

C internet : เน็ต Fiber Optic จาก CAT

ในโอกาสนี้จึงขอฝากโปรโมชั่นของผู้สนับสนุนบทความนี้ว่า C internet ราคาเปิดที่ 690 บาท ไล่กับ ADSL บ้านเดิมที่เคยใช้เลย ถ้าหากใครสนใจสามารถโทรสอบถามได้ที่โทร 1322 หรือสอบถามผ่าน Facebook Fanpage ที่ https://www.facebook.com/CinternetBYCAT หรือดูรายละเอียดเต็มที่เว็บไซต์ catinternet.com

coffee-wifi-cinternet

เว็บเราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ท่านได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถเลือกอนุญาตคุกกี้เองได้ที่ ตั้งค่าคุกกี้

Privacy Preferences

เมื่อท่านเข้าชมเว็บไซต์ของเรา อาจมีการจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของท่านในรูปแบบของคุกกี้ ข้อมูลนี้อาจเป็นข้อมูลเกี่ยวกับท่าน การตั้งค่าของท่าน อุปกรณ์ของท่าน ซึ่งจะถูกใช้เพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้ตามที่ท่านต้องการ ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่ได้ระบุตัวตนของท่านโดยตรง แต่ช่วยให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์แบบเฉพาะสำหรับท่านได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เราเคารพในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน โดยท่านสามารถเลือกปฏิเสธไม่ยอมรับให้คุกกี้บางประเภททำงานได้ ซึ่งท่านสามารถคลิกที่หัวข้อแต่ละประเภท เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนการตั้งค่าได้ อย่างไรก็ตาม การเลือกปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจส่งผลกระทบต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการที่เราเสนอให้แก่ท่านได้ ข้อมูลเพิ่มเติม

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จําเป็นสําหรับการทํางานของเว็บไซต์ (Strictly necessary cookies)
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่ทำให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้งานในเว็บไซต์ของเราได้อย่างปลอดภัย ส่วนนี้จะไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้ที่ช่วยในการใช้งาน (Functional Cookies)

    เราใช้ Cookies ประเภทนี้เพื่อช่วยจดจำอุปกรณ์หรือบราวเซอร์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถจัดทำเนื้อหาได้อย่างเหมาะสมกับความสนใจส่วนบุคคลของท่านได้รวดเร็วขึ้น และช่วยให้การบริการและแพลตฟอร์มได้อย่างสะดวกสบายและเป็นประโยชน์ต่อท่านมากยิ่งขึ้น

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เชิงสถิติ (Analytics Cookies)

    เราใช้ Analytics Cookies ที่ให้บริการโดย Google ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับรูปแบบการใช้งานของท่านบนเว็บไซต์ของเรา โดยข้อมูลนี้ประกอบไปด้วย หน้าเว็บไซต์ที่ท่านเข้าชม ลิงค์ที่ท่านคลิก ระยะเวลาที่ท่านเข้าชมในแต่ละหน้า โดยเราใช้ข้อมูลนี้เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการใช้งานของผู้ใช้ และเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    เราใช้คุกกี้ประเภทนี้จดจำการตั้งค่าของท่านในการเข้าใช้งานหน้าเว็บไซต์ หน้าเว็บที่ท่านได้เยี่ยมชม และลิงค์ที่ท่านเยี่ยมชม เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเข้าชมและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์และยังปรับปรุงเว็บไซต์ รวมทั้งเนื้อหาใดๆ ซึ่งปรากฏอยู่บนหน้าเว็บให้ตรงกับความสนใจของท่านมากยิ่งขึ้น และทดสอบความมีประสิทธิภาพของโฆษณาเรา และนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุดเท่าที่จำเป็น นอกจากนี้ เรายังอาจแชร์ข้อมูลนี้ให้กับบุคคลที่สามเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว
    Cookies Details

บันทึกการตั้งค่า