วัฏจักรของน้ำใน "หน้าหนาว" เมฆ หมอก น้ำค้าง หรือ แม่คะนิ้ง เกิดจากอะไร? 13 - น้ำค้าง

วัฏจักรของน้ำใน “หน้าหนาว” เมฆ หมอก น้ำค้าง หรือ แม่คะนิ้ง เกิดจากอะไร?

เข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว…

เช้า ๆ เมื่อเยี่ยมหน้าออกไปนอกบ้าน แลเห็นหมอกขาว ๆ บาง ๆ ลอยอ้อยอิ่งอยู่รอบ ๆ ตัว ทั้งพื้นหญ้าเปียกชื้น  มีหยดน้ำค้างเกาะพราว นับเป็นของวัญยามเช้าที่แสนพิเศษของฤดูหนาว

เฉกเช่นเดียวกับก้อนเมฆที่เห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ล้วนเกิดจากไอน้ำที่อยู่ในสภาวะต่าง ๆ

  • ไอน้ำเหล่านี้ หากกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ล่องลอยอยู่กลางอากาศ ให้แหงนหน้าขึ้นมองไปบนท้องฟ้านั่นคือ เมฆ
  • หากล่องลอยชิดใกล้กับผืนดิน และโอบอุ้มอยู่รอบตัวเรานั่นคือ หมอก
  • หากกลั่นตัวเกาะบนผิวดิน ผืนหญ้าให้เห็นเป็นหยดน้ำพราวชัดนั่นคือ น้ำค้าง
fog
ภาพจาก pixabay.com

ทำไมจึงเกิด เมฆ ?

ไอน้ำที่ระเหยจากแหล่งน้ำบนผิวโลก เมื่อล่องลอยอยู่กลางอากาศกระทบกับความเย็นบนท้องฟ้าสูง ไอน้ำบางส่วนจะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำ และรวมตัวกันกลายเป็นก้อนเมฆ และจะคงอยู่สภาพเช่นนั้น จนกว่าหยดน้ำที่จับรวมตัวกันมีขนาดใหญ่จนอากาศไม่สามารถพยุงให้ลอยต่อไปได้อีก จึงตกลงมาในรูปของหยาดน้ำฟ้า นั่นคือ ฝน หิมะ หรือกระทั่งลูกเห็บ

watercyclekids-imagemap
ภาพจาก  water.usgs.gov  แสดงวัฏจักรของน้ำ

ทำไมจึงเกิด หมอก ?

หมอกเกิดจากไอน้ำที่กระทบกับความเย็นเหนือพื้นดินในหน้าหนาว แล้วกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเล็ก ๆ รวมตัวกันกลายเป็นหมอกขาวบาง ๆ ล่องลอยอยู่เหนือผิวดิน

fog
ภาพจาก  commons.wikimedia.org

แต่ใช่ว่า ถึงฤดูหนาวแล้วเราจะได้เห็นหมอกทุกวี่ทุกวัน ต้องมีปัจจัยอื่นช่วยเกื้อหนุนเช่นกัน  นั้นคือท้องฟ้านั้นต้องแจ่มใสไร้เมฆ และอากาศนิ่งไม่มีลมพัด

fogparticleshighspeed
ภาพจาก  wikipedia.org แสดงให้เห็นหยดน้้ำที่เป็นหมอกในระยะประชิด

ท้องฟ้าที่แจ่มใสไร้เมฆ ช่วยให้พื้นดินที่สะสมความร้อนจากดวงอาทิตย์มาตลอดทั้งวัน เมื่อคายความร้อนออกมา จะไม่โดนเมฆสะท้อนความร้อนย้อนกลับลงมาอีก ทำให้พื้นดินคายความร้อนได้อย่างรวดเร็ว เมื่อพื้นดินเย็นลง อากาศบริเวณเหนือพื้นดินพลอยเย็นลงไปด้วย เมื่อกาศเย็นลงจนถึงจุดน้ำค้าง ไอน้ำในอากาศจึงกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ หรือหมอกนั่นเอง ประสมกับอากาศที่นิ่ง ไม่มีลมพัด หมอกก็จะลอยอวลอยู่เช่นนั้น โดยไม่โดนลมพัดกระจายหายไปไหน กลายเป็นกลุ่มหมอกให้เราแลเห็นได้ชัด

fog-1
ภาพจาก pixabay.com

ทำไมจึงเกิด น้ำค้าง ?

ช่วงหน้าหนาว อากาศใกล้พื้นดินที่ลดต่ำถึงจุดน้ำค้าง ทำให้ไอน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเกาะตามพื้นดิน ผิวหญ้า เป็นน้ำค้างให้เราเห็นชัดในยามเช้า

Exif_JPEG_PICTURE

frozen-dew
ภาพจาก pixabay.com

แต่ถ้าอุณหภูมิลดต่ำลงมาก ๆ จนถึงจุดเยือกแข็ง น้ำค้างที่เกาะแวววาวบนพื้นดินจะเปลี่ยนเป็นหยดน้ำแข็ง คำไทยเราเรียกว่าน้ำค้างแข็งขณะภาษาอังกฤษเรียกว่า Frozen Dew

frozen-dew-2
ภาพจาก don.komarechka.com
frozen-dew1
ภาพจาก don.komarechka.com

แต่ใช่ว่าน้ำค้างเท่านั้นที่จับเป็นหยดน้ำแข็งที่จุดเยือกแข็ง หากไอน้ำที่ล่องลอยกลางอากาศ ก็กลายเป็นน้ำแข็งได้ทันทีโดยไม่ต้องกลั่นตัวเป็นหยดน้ำก่อน ทำให้เราเห็นเกล็ดน้ำแข็งวิบวับเกาะบนใบไม้ยอดหญ้าตามยอดดอย หรือภูสูง ๆ ที่อากาศหนาวจัด ปรากฏการณ์นี้ ไม่มีคำภาคกลางใช้เรียกโดยเฉพาะ มีแต่คำภาษาเหนือที่เรียกกันว่า เหมยขาบ และ คำอีสานที่เรียกว่า แม่คะนิ้ง ขณะที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Hoarfrost

%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%82%e0%b8%b2%e0%b8%9a2
ภาพจาก matichon.co.th

เห็นมั้ยละว่าแค่น้ำที่ล่องลอยในอากาศ  กระทบกับอากาศที่เปลี่ยนแปลง สามารถแปลงกายเป็นอะไรได้สารพันทั้งเมฆ หมอก น้ำค้าง… กระทั่งกลายเป็นน้ำค้างแข็ง เหมยขาบ หรือแม่คะนิ้ง

เว็บเราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ท่านได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถเลือกอนุญาตคุกกี้เองได้ที่ ตั้งค่าคุกกี้

Privacy Preferences

เมื่อท่านเข้าชมเว็บไซต์ของเรา อาจมีการจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของท่านในรูปแบบของคุกกี้ ข้อมูลนี้อาจเป็นข้อมูลเกี่ยวกับท่าน การตั้งค่าของท่าน อุปกรณ์ของท่าน ซึ่งจะถูกใช้เพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้ตามที่ท่านต้องการ ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่ได้ระบุตัวตนของท่านโดยตรง แต่ช่วยให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์แบบเฉพาะสำหรับท่านได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เราเคารพในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน โดยท่านสามารถเลือกปฏิเสธไม่ยอมรับให้คุกกี้บางประเภททำงานได้ ซึ่งท่านสามารถคลิกที่หัวข้อแต่ละประเภท เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนการตั้งค่าได้ อย่างไรก็ตาม การเลือกปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจส่งผลกระทบต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการที่เราเสนอให้แก่ท่านได้ ข้อมูลเพิ่มเติม

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จําเป็นสําหรับการทํางานของเว็บไซต์ (Strictly necessary cookies)
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่ทำให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้งานในเว็บไซต์ของเราได้อย่างปลอดภัย ส่วนนี้จะไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้ที่ช่วยในการใช้งาน (Functional Cookies)

    เราใช้ Cookies ประเภทนี้เพื่อช่วยจดจำอุปกรณ์หรือบราวเซอร์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถจัดทำเนื้อหาได้อย่างเหมาะสมกับความสนใจส่วนบุคคลของท่านได้รวดเร็วขึ้น และช่วยให้การบริการและแพลตฟอร์มได้อย่างสะดวกสบายและเป็นประโยชน์ต่อท่านมากยิ่งขึ้น

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เชิงสถิติ (Analytics Cookies)

    เราใช้ Analytics Cookies ที่ให้บริการโดย Google ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับรูปแบบการใช้งานของท่านบนเว็บไซต์ของเรา โดยข้อมูลนี้ประกอบไปด้วย หน้าเว็บไซต์ที่ท่านเข้าชม ลิงค์ที่ท่านคลิก ระยะเวลาที่ท่านเข้าชมในแต่ละหน้า โดยเราใช้ข้อมูลนี้เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการใช้งานของผู้ใช้ และเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    เราใช้คุกกี้ประเภทนี้จดจำการตั้งค่าของท่านในการเข้าใช้งานหน้าเว็บไซต์ หน้าเว็บที่ท่านได้เยี่ยมชม และลิงค์ที่ท่านเยี่ยมชม เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเข้าชมและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์และยังปรับปรุงเว็บไซต์ รวมทั้งเนื้อหาใดๆ ซึ่งปรากฏอยู่บนหน้าเว็บให้ตรงกับความสนใจของท่านมากยิ่งขึ้น และทดสอบความมีประสิทธิภาพของโฆษณาเรา และนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุดเท่าที่จำเป็น นอกจากนี้ เรายังอาจแชร์ข้อมูลนี้ให้กับบุคคลที่สามเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว
    Cookies Details

บันทึกการตั้งค่า