“เทศกาลภาพยนตร์สารคดีไต้หวันกรุงเทพฯ” ครั้งแรกของประเทศไทย 13 -

“เทศกาลภาพยนตร์สารคดีไต้หวันกรุงเทพฯ” ครั้งแรกของประเทศไทย

กระทรวงวัฒนธรรมไต้หวัน ร่วมกับ สำนักงานเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย, ด็อกคิวเมนทารี่ คลับ, กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์  และ โรงภาพยนตร์ เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า เตรียมจัด เทศกาลภาพยนตร์สารคดีไต้หวันกรุงเทพฯ” ครั้งแรกของประเทศไทย เพื่อเป็นการประสานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศไต้หวัน พร้อมสร้างการเรียนรู้แลกเปลี่ยนด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ การดำรงชีพของชาวไต้หวันผ่านทางแผ่นฟิล์ม โดยเทศกาลนี้ถือเป็นการสานต่อความสำเร็จ พัฒนาจากโปรเจคท์ภาพยนตร์สารคดีที่ เอส เอฟ ร่วมกับ ด็อกคิวเมนทารี่ คลับ ทำต่อเนื่องและประสบความสำเร็จมากว่า 4 ปี ภายในเทศกาลฯ คัดสรรภาพยนตร์สารคดีคุณภาพที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายความหลากหลายของวัฒนธรรมจากประเทศไต้หวันจำนวน 8 เรื่อง พร้อมบทบรรยายภาษา ไทย-อังกฤษ มาให้คอภาพยนตร์ได้ร่วมชม ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม  – 2 กันยายน 2561  ณ โรงภาพยนตร์ เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ในราคาที่นั่งละ 160 บาท สำหรับที่นั่ง Deluxe Seat และราคา 180 บาท สำหรับที่นั่ง Premium Seat

“เทศกาลภาพยนตร์สารคดีไต้หวันกรุงเทพฯ” ครั้งแรกของประเทศไทย 14 -

ผลงานภาพยนตร์น่าจับตามองจากประเทศไต้หวันจำนวน 8 เรื่อง เริ่มต้นที่ภาพยนตร์เปิดเทศกาล Small Talk” ผลงานที่ชนะรางวัลภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยมจากเวทีเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลินในปีที่ผ่านมา โดยตัวผู้กำกับได้ถ่ายทอดเรื่องราวความสัมพันธ์ในครอบครัวตนเอง ระหว่างแม่และลูกที่อยู่ภายใต้ชายคาเดียวกันแต่เปรียบเสมือนคนแปลกหน้าซึ่งกันและกัน จนกระทั่งตัวผู้กำกับตัดสินใจจะรวบรวมความกล้าชวนแม่ของเธอมานั่งพูดคุยเปิดใจ เพื่อเผยความลับอันหนักอึ้งที่ผู้เป็นแม่เลือกจะเก็บไว้เพียงลำพังจนสร้างระยะห่างในความสัมพันธ์ของแม่และลูก โดยเรื่องราวถูกบันทึกไว้ผ่านกล้องของเธอ

Time Splits in the River” เรื่องราวของสี่ศิลปินที่ชวนพ่อแม่ตัวเองมารับบทผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลไต้หวันในช่วงทศวรรษ 1980 โดยทุกคนต้องตระเตรียมตัวสำหรับบทบาทด้วยการดูฟุตเตจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนั้น และแม้จะไม่มีคนใดเลยในกลุ่มพวกเขาเคยเข้าไปข้องเกี่ยวกับการประท้วงมาก่อน ทว่าการได้เห็นและได้สนทนาถึงมันอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก ก็ทำให้พวกเขาค่อยๆ ซึมซับมันหลอมรวมเข้ากับอดีตของตนเองอย่างช้าๆ

“เทศกาลภาพยนตร์สารคดีไต้หวันกรุงเทพฯ” ครั้งแรกของประเทศไทย 15 -

Le Moulin”  ภาพยนตร์สารคดีที่ชนะรางวัลจากเวทีเทศกาลภาพยนตร์ม้าทองคำ หรือ Golden Horse Film Festival ปี 2016 ในสาขาภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยม ซึ่งเป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่ใหญ่เป็นลำดับต้นๆ เป็นเรื่องราวหลังจากสี่สิบปีภายใต้เจ้าอาณานิคมญี่ปุ่น กลุ่มศิลปินโมเดิร์นกลุ่มแรกของไต้หวันในนาม ‘สมาคมกวีกังหันลม’ (Le Moulin Poetry Society) ได้ถือกำเนิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1930 พร้อมกับบทกวีเพื่อการต่อต้านอำนาจนำทางวัฒนธรรมของเจ้าอาณานิคม โดยมีศิลปินกลุ่มเซอร์เรียลลิสต์เป็นต้นแบบหลัก กวีกลุ่ม Le Moulin ก่อร่างบทกวีของพวกเขาด้วยลีลาแห่งความซับซ้อนและไม่ประนีประนอม เพื่อที่จะเผชิญหน้ากับช่วงเวลาโกลาหลที่พวกเขามีชีวิตอยู่ โดย “Le Moulin” สารคดีทดลองที่ประกอบขึ้นจาก ฟุตเตจเก่า ภาพถ่าย บทกวี ถ้อยแถลง ร้อยเรียงกันอย่างไร้ระเบียบราวกับการบันทึกด้วยจิตไร้สำนึก ซึ่งสอดรับกับพลังของการต่อต้านระบบของที่เป็นเหมือนหัวใจหลักของหนังอย่างงดงาม

“เทศกาลภาพยนตร์สารคดีไต้หวันกรุงเทพฯ” ครั้งแรกของประเทศไทย 16 -

Sunflower Occupation” ภาพยนตร์สารคดีเรื่องราวในปี 2014 ระหว่างการประท้วงเพื่อต่อต้าน ความตกลงการค้าบริการข้ามช่องแคบ ซึ่งได้รัการอนุมัติอย่างรวดเร็วผิดสังเกต กลุ่มของผู้ประท้วงบุกเข้ายึดรัฐสภาไต้หวันเป็นเวลาถึง24 วัน หลังจากผู้ชุมนุมบุกเข้าไปทางประตูด้านข้างของสภานิติบัญญัติ ความลับดำมืดก็ได้ถูกเปิดเผยคำถามที่เป็นแกนกลางสำคัญก็คือ อะไรคือประชาธิปไตย? อะไรคือรัฐ? อะไรคือความรุนแรง? อะไรคืออนาคต? อะไรคือความสุขที่เราไขว่คว้า และ  ‘เรา’คือใคร?

นี่คือสารคดีสั้นเก้าเรื่องที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของคนทำสารคดีในไต้หวัน ในนามของ Docunion ที่ส่งคนทำหนังสารคดีไปติดตามการชุมนุมจากมุมมองที่แตกต่างกัน จากแง่มุมที่แตกต่างกัน จากนั้นนำทั้งหมดมาเชื่อมร้อยเข้าหากันเพื่อฉายภาพการชุมนุมที่ไม่ได้มีแค่มิติเดียวจากจุดใดจุดหนึ่ง ความหลากหลายที่น่าตื่นตาตั้งแต่ ยุทธวิธีไปจนถึงความคิดแกนกลางของแต่ละคน

The Silent Teacher ในไต้หวันนั้น ร่างกายของผู้บริจาคที่นำมาใช้ในการสอนกายวิภาคนั้นจะถูกเรียกว่า ‘อาจารย์เงียบ’ (The Silent Teacher) ภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าเรื่องของคุณนายหลิน ผู้ซึ่งร่างกายของเธอจะถูกนำมาใช้ผ่าในการสอนในปีถัดไป  คุณนายหลินกำลังจะกลายเป็นอาจารย์เงียบทั้งกับเหล่านักศึกษาแพทย์และกับในขณะเดียวกันก็เป็นอาจารย์สอนให้ครอบครัวของเธอเองได้รู้จักความหมายของชีวิต

นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์สารคดีมาให้เลือกชม อาทิ The Immortal’s Play” ภาพยนตร์สารคดีที่ถ่ายทอดเรื่องราวการต่อสู้ชีวิตของนางเอกละครงิ้ว, The Mountain” เรื่องราวของชายนักต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิจากยุคล่าอาณานิคม และ Stranger in the Mountains” ถาพยนตร์ที่ถ่ายทอดเรื่องราวการต่อสู้ดิ้นรนของเหล่าลูกหลานของกองกำลังชาตินิยมก๊กมินตั๋งที่ยังหลงเหลืออยู่

สำหรับ เทศกาลภาพยนตร์สารคดีไต้หวันกรุงเทพฯ” จะจัดขึ้น ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม  – 2 กันยายน 2561  ณ โรงภาพยนตร์ เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ในราคาที่นั่งละ 160 บาท สำหรับที่นั่ง Deluxe Seat และราคา 180 บาท สำหรับที่นั่ง Premium Seat โดยผู้ชมสามารถเช็ครอบฉายพร้อมซื้อบัตรชมภาพยนตร์ในเทศกาลผ่าน www.sfcinemacity.com และแอพพลิเคชั่น SF Cinema ได้ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2561 เป็นต้นไป ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ SF Call Center 02-268-8888 เว็บไซต์ www.sfcinemacity.com และ www.facebook.com/Welovesf หรือเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ที่หน้าโรงภาพยนตร์

เว็บเราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ท่านได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถเลือกอนุญาตคุกกี้เองได้ที่ ตั้งค่าคุกกี้

Privacy Preferences

เมื่อท่านเข้าชมเว็บไซต์ของเรา อาจมีการจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของท่านในรูปแบบของคุกกี้ ข้อมูลนี้อาจเป็นข้อมูลเกี่ยวกับท่าน การตั้งค่าของท่าน อุปกรณ์ของท่าน ซึ่งจะถูกใช้เพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้ตามที่ท่านต้องการ ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่ได้ระบุตัวตนของท่านโดยตรง แต่ช่วยให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์แบบเฉพาะสำหรับท่านได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เราเคารพในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน โดยท่านสามารถเลือกปฏิเสธไม่ยอมรับให้คุกกี้บางประเภททำงานได้ ซึ่งท่านสามารถคลิกที่หัวข้อแต่ละประเภท เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนการตั้งค่าได้ อย่างไรก็ตาม การเลือกปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจส่งผลกระทบต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการที่เราเสนอให้แก่ท่านได้ ข้อมูลเพิ่มเติม

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จําเป็นสําหรับการทํางานของเว็บไซต์ (Strictly necessary cookies)
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่ทำให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้งานในเว็บไซต์ของเราได้อย่างปลอดภัย ส่วนนี้จะไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้ที่ช่วยในการใช้งาน (Functional Cookies)

    เราใช้ Cookies ประเภทนี้เพื่อช่วยจดจำอุปกรณ์หรือบราวเซอร์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถจัดทำเนื้อหาได้อย่างเหมาะสมกับความสนใจส่วนบุคคลของท่านได้รวดเร็วขึ้น และช่วยให้การบริการและแพลตฟอร์มได้อย่างสะดวกสบายและเป็นประโยชน์ต่อท่านมากยิ่งขึ้น

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เชิงสถิติ (Analytics Cookies)

    เราใช้ Analytics Cookies ที่ให้บริการโดย Google ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับรูปแบบการใช้งานของท่านบนเว็บไซต์ของเรา โดยข้อมูลนี้ประกอบไปด้วย หน้าเว็บไซต์ที่ท่านเข้าชม ลิงค์ที่ท่านคลิก ระยะเวลาที่ท่านเข้าชมในแต่ละหน้า โดยเราใช้ข้อมูลนี้เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการใช้งานของผู้ใช้ และเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    เราใช้คุกกี้ประเภทนี้จดจำการตั้งค่าของท่านในการเข้าใช้งานหน้าเว็บไซต์ หน้าเว็บที่ท่านได้เยี่ยมชม และลิงค์ที่ท่านเยี่ยมชม เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเข้าชมและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์และยังปรับปรุงเว็บไซต์ รวมทั้งเนื้อหาใดๆ ซึ่งปรากฏอยู่บนหน้าเว็บให้ตรงกับความสนใจของท่านมากยิ่งขึ้น และทดสอบความมีประสิทธิภาพของโฆษณาเรา และนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุดเท่าที่จำเป็น นอกจากนี้ เรายังอาจแชร์ข้อมูลนี้ให้กับบุคคลที่สามเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว
    Cookies Details

บันทึกการตั้งค่า