Thailand EF Partnership แถลงผลงานใช้ EF Guideline เครื่องมือช่วยครูปฐมวัย 13 -

Thailand EF Partnership แถลงผลงานใช้ EF Guideline เครื่องมือช่วยครูปฐมวัย

3 หน่วยงานพันธมิตรภาคีเครือข่าย Thailand EF Partnership สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) ร่วมกันแถลงผลงานวิจัย การค้นคว้าและพัฒนาเครื่องมือช่วยครูวิเคราะห์แผนการเรียนการสอน เพื่อการพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้าในเด็กปฐมวัย

นางสุภาวดี หาญเมธี ประธานสถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) ในฐานะผู้จัดการโครงการ “การพัฒนาองค์ความรู้และขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะสมองเพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชนในประเทศไทย” โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า เด็กไทยต้องได้รับการฝึกฝนให้สามารถกำหนดเป้าหมายของตนเอง มีความมานะพยายาม ความมุ่งมั่นไปให้ถึงเป้าหมาย พร้อมกับการมีความสามารถในการดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ ให้เป็นคนที่ “คิดเป็น ทำเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่กับคนอื่นเป็น และมีความสุขเป็น” นั่นหมายถึงการมีทักษะสมองเพื่อจัดการชีวิตให้สำเร็จ หรือ Executive Functions (EF)

จึงเป็นที่มาของความร่วมมือกันของพันธมิตรทางวิชาการ ซึ่งรวมตัวกันในนามภาคีเครือข่าย Thailand EF Partnership เพื่อพัฒนานวัตกรรมการออกแบบการสอน EF Guideline เครื่องมือช่วยครูปฐมวัย   ในการพัฒนาทักษะสมองเด็กไทย สู่ศตวรรษที่ 21  

อย่างไรก็ตาม ครูปฐมวัยต้องเปลี่ยนมุมมองและวิธีจัดการเรียนการสอนให้เป็นแบบ Active Learning ,ผู้บริหารโรงเรียนต้องเปลี่ยนความเข้าใจต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในโรงเรียน และปรับเปลี่ยนทัศนคติมุมมองต่องานของครูปฐมวัย หันมาให้การสนับสนุนครูปฐมวัยอย่างเต็มที่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน สังคม ต้องเปลี่ยนความคิด ทัศนคติ ต่อเป้าหมายด้านการศึกษาของลูกหลาน รวมถึงกระบวนการเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กระดับนโยบายของประเทศต้องเปลี่ยนความคิดความเข้าใจในการพัฒนาเด็กปฐมวัย ให้ถูกทิศทาง  ไม่ตามกระแสค่านิยมที่ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็ก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทักษะสมอง EF จากสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะหัวหน้านักวิจัยทั้ง 2 โครงการนี้ กล่าวว่า “EF Guideline เป็นเครื่องมือที่ช่วยครูปฐมวัยในการจัดระบบความคิด และวิเคราะห์ เพื่อออกแบบ “การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF” สำหรับครูปฐมวัย ซึ่งมี 3 องค์ประกอบหลักสำคัญ

1.เป้าหมาย คือ การให้ความสำคัญกับการกำหนดเป้าหมายการสอนที่ชัดเจน ว่าจะนำไปสู่เป้าหมายใด เจตคติ ความรู้ หรือทักษะใด มุ่งพัฒนาทักษะสมอง  EF ด้านใด  รวมทั้งการกำหนดพฤติกรรมเป้าหมายที่ชัดเจน สามารถประเมินได้

2.กระบวนการ คือ การให้ความสำคัญกับการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่ สอดคล้องกับเป้าหมาย เป็นลำดับขั้นตอน และครูเห็นได้ว่าในแต่ละขั้นตอนนั้น  จะส่งเสริมทักษะสมอง EF ด้านใดบ้าง  รวมไปถึงการจัดสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นการทำงานของทักษะสมอง EF

3.การประเมิน คือการให้ความสำคัญกับการทบทวนโอกาสในการส่งเสริมทักษะสมอง EF ที่เกิดขึ้นระหว่างการจัดกิจกรรม รวมถึงการทบทวนขั้นตอน  และกระบวนการสอนให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่คาดหวัง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์ให้มีประสิทธิภาพ ในครั้งต่อไป

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปนัดดา กล่าวต่อไปว่า  EF Guideline  ได้รับการออกแบบมาเพื่อเป็น “เพื่อน คู่ คิด” ของครูปฐมวัย  ใช้ประโยชน์ได้ 2 ทาง คือ   ใช้เป็นแนวทางการวิเคราะห์กิจกรรมในแผนการจัดประสบการณ์เดิมว่าองค์ประกอบแต่ละส่วน   มีความชัดเจน และสอดคล้องกันหรือไม่  และใช้เป็นแนวทางการออกแบบกิจกรรมใหม่ๆ โดยใช้องค์ประกอบแต่ละส่วนเป็นตัวนำทาง ให้กิจกรรมที่ออกแบบขึ้นมานั้นมีเป้าหมายชัดเจน

เหตุผลหลักที่ครูปฐมวัยควรใช้ EF Guideline” 1. EF  คือ เป้าหมายของการศึกษาที่แท้จริง นั่นคือ การพัฒนาให้เด็กมีทักษะความสามารถในการคิด วิเคราะห์ ตัดสินใจ แก้ไขปัญหา วางแผน ควบคุมอารมณ์ คิดสร้างสรรค์   ไม่ใช่เพื่อสอบเอาคะแนนอย่างเดียว และพลเมืองโลกในศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่คนที่ท่องหนังสือเก่ง มีความรู้จดจำตำรับตำราได้มากที่สุดอีกต่อไป แต่ต้องการคนที่มีทักษะความสามารถในการคิดค้น ประยุกต์เป็น และลงมือสร้างสรรค์นวัตกรรมพัฒนาชาติได้ นั่นก็คือคุณสมบัติของผู้ที่มีทักษะสมอง EF แข็งแรงนั่นเอง  2. EF Guideline ช่วยให้ครูวางแผนการเรียนรู้ให้เด็กได้แยบยลขึ้น เพราะครูจะมองเห็นเป้าหมายชัดเจนขึ้น และคิดเป็นระบบขึ้นว่า เพื่อให้ได้เป้าหมายที่ต้องการ   กระบวนการขั้นตอนที่จะออกแบบให้เด็กได้เรียนรู้นั้น ควรเป็นอย่างไร จึงจะสอดคล้องกัน EF Guideline จะช่วยจัดระบบความคิดและช่วยให้ครูเสมือนมี “เลนส์EF” ที่มองรายละเอียดของคุณภาพการเรียนรู้ของเด็กชัดเจนขึ้น 3. EF Guideline จะทำให้ครูมีความมั่นใจ สามารถออกแบบแผนการเรียนรู้ให้เด็กด้วยตนเอง ที่เหมาะสมกับสภาพบริบทของตนเอง และเหมาะสมกับสภาพของเด็กที่ครูดูแลอยู่ ครูจะเก่งขึ้น ได้ใช้ศักยภาพคิดค้นพลิกแพลงกระบวนท่าในการเรียนการสอนได้หลากหลายด้วยตนเอง

จากงานวิจัยครั้งนี้พบว่า เด็กกลุ่มทดลองที่คุณครูนำ EF Guideline ไปใช้ในการจัดประสบการณ์ในชั้นเรียน ส่งผลให้เด็กกลุ่มนี้มีคะแนนเฉลี่ยทักษะสมอง EF มากกว่าค่า Norm ของเด็กไทยในทุกภูมิภาค และข้อเสนอแนะจากงานวิจัยถึงการนำผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้ระบุว่า

1.การเขียนแผนการจัดประสบการณ์โดยการใช้ EF Guideline คุณครูต้องดำเนินการอย่างทุ่มเทและต่อเนื่อง จะส่งผลต่อการพัฒนาการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ของครู

2.การส่งเสริมการใช้ EF Guideline ให้กับคุณครูระดับปฐมวัย  ต้องมีการปรับให้มีความสอดคล้องกับบริบท สังคม และวัฒนธรรมของโรงเรียน

3.ควรมีการจัดอบรมการใช้ EF Guideline ให้กับคุณครูที่มีความสนใจในระดับช่วงชั้นอื่น เพื่อขยายองค์ความรู้ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้  รวมทั้งจัดให้มีเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ EF Guideline เพื่อพัฒนาการใช้ EF Guideline  ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

EF Guideline จึงเป็น “เพื่อนคู่คิด” ของครูปฐมวัย ช่วยกระตุกความคิด ทำให้ครูสามารถวางแผนการสอนได้ประณีตมากขึ้น   ทำให้ครูมั่นใจในการเขียนแผนการประสบการณ์ และรู้ว่าเด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้…เพราะเราจริงๆ อีกทั้งยังทำให้ครูรู้สึกรักและภูมิใจในอาชีพตัวเองมากยิ่งขึ้น

เว็บเราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ท่านได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถเลือกอนุญาตคุกกี้เองได้ที่ ตั้งค่าคุกกี้

Privacy Preferences

เมื่อท่านเข้าชมเว็บไซต์ของเรา อาจมีการจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของท่านในรูปแบบของคุกกี้ ข้อมูลนี้อาจเป็นข้อมูลเกี่ยวกับท่าน การตั้งค่าของท่าน อุปกรณ์ของท่าน ซึ่งจะถูกใช้เพื่อทำให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้ตามที่ท่านต้องการ ซึ่งมักเป็นข้อมูลที่ไม่ได้ระบุตัวตนของท่านโดยตรง แต่ช่วยให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์แบบเฉพาะสำหรับท่านได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เราเคารพในสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน โดยท่านสามารถเลือกปฏิเสธไม่ยอมรับให้คุกกี้บางประเภททำงานได้ ซึ่งท่านสามารถคลิกที่หัวข้อแต่ละประเภท เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนการตั้งค่าได้ อย่างไรก็ตาม การเลือกปิดการใช้งานคุกกี้บางประเภทอาจส่งผลกระทบต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการที่เราเสนอให้แก่ท่านได้ ข้อมูลเพิ่มเติม

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จําเป็นสําหรับการทํางานของเว็บไซต์ (Strictly necessary cookies)
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซต์ ซึ่งรวมถึงคุกกี้ที่ทำให้ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้งานในเว็บไซต์ของเราได้อย่างปลอดภัย ส่วนนี้จะไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้ที่ช่วยในการใช้งาน (Functional Cookies)

    เราใช้ Cookies ประเภทนี้เพื่อช่วยจดจำอุปกรณ์หรือบราวเซอร์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถจัดทำเนื้อหาได้อย่างเหมาะสมกับความสนใจส่วนบุคคลของท่านได้รวดเร็วขึ้น และช่วยให้การบริการและแพลตฟอร์มได้อย่างสะดวกสบายและเป็นประโยชน์ต่อท่านมากยิ่งขึ้น

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เชิงสถิติ (Analytics Cookies)

    เราใช้ Analytics Cookies ที่ให้บริการโดย Google ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับรูปแบบการใช้งานของท่านบนเว็บไซต์ของเรา โดยข้อมูลนี้ประกอบไปด้วย หน้าเว็บไซต์ที่ท่านเข้าชม ลิงค์ที่ท่านคลิก ระยะเวลาที่ท่านเข้าชมในแต่ละหน้า โดยเราใช้ข้อมูลนี้เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการใช้งานของผู้ใช้ และเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    เราใช้คุกกี้ประเภทนี้จดจำการตั้งค่าของท่านในการเข้าใช้งานหน้าเว็บไซต์ หน้าเว็บที่ท่านได้เยี่ยมชม และลิงค์ที่ท่านเยี่ยมชม เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเข้าชมและพฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์และยังปรับปรุงเว็บไซต์ รวมทั้งเนื้อหาใดๆ ซึ่งปรากฏอยู่บนหน้าเว็บให้ตรงกับความสนใจของท่านมากยิ่งขึ้น และทดสอบความมีประสิทธิภาพของโฆษณาเรา และนำเสนอโฆษณาที่เหมาะสมกับท่านมากที่สุดเท่าที่จำเป็น นอกจากนี้ เรายังอาจแชร์ข้อมูลนี้ให้กับบุคคลที่สามเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว
    Cookies Details

บันทึกการตั้งค่า